เสวนาจากงานวิจัย......สู่การจัดการป่าชายเลนที่ยั่งยืน
หลักการทำงาน คือ เน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการอย่างยั่งยืน สร้างความตระหนัก จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ และกลไกการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย โดยมีบุคลากรประมาณ 500 คน และยังไม่มีกฎหมายโดยตรงสำหรับใช้บังคับ ทำให้การบริหารจัดการเรื่องต่างๆ จึงมีความยาก ในอนาคตมีความจำเป็นต้องขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นมากขึ้น วิสัยทัศน์ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คือ เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้มีความสมบูรณ์และยั่งยืน ส่วนพันธกิจจะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน หลักการทำงาน คือ เน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการอย่างยั่งยืน สร้างความตระหนัก จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาองค์ความรู้ และกลไกการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ อีกส่วนสำคัญ คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชน
สำหรับหัวข้อเสวนาจากงานวิจัยสู่การจัดการป่าชายเลนอย่างยั่งยืนเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ไม่สามารถดำเนินการให้ยั่งยืนได้โดยลำพังแต่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน กรมทรัพยากรทางทะเลฯ มีงานวิจัยโครงการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาการจัดการป่าชายเลนของประเทศไทย ซึ่งป่าชายเลนสามารถพบกระจายทั่วทุกภูมิภาค ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคใต้ฝั่งอันดามัน แต่ละภาคมีความแตกต่างกันทั้งผู้คน ภาษา ระบบนิเวศ และการใช้ประโยชน์ จึงไม่สามารถใช้รูปแบบการจัดการที่เหมือนกันในทุกภาค เมื่อปี 2504 พบป่าชายเลนประมาณ 2.9 ล้านไร่ แต่ปัจจุบันเหลือพื้นที่ป่าชายเลนธรรมชาติประมาณ 1.5 ล้านไร่ เนื่องจากป่าชายเลนถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้งประมาณ 400,000 ไร่ และพื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่เกษตรกรรม นาเกลือ และที่อยู่อาศัย เป็นต้น
สำหรับสถานการณ์และปัญหาป่าชายเลนในประเทศไทยนั้นพบประเด็นหลัก ดังนี้ - ป่าชายเลนตามธรรมชาติมีชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์ และบางส่วนถูกบุกรุกจากนายทุนเพื่อการท่องเที่ยว เช่น จังหวัดพังงา จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง จังหวัดสตูล และจังหวัดภูเก็ต เป็นต้น
|
| ป่าชายเลนที่มีชุมชนเข้าไปใช้ประโยชน์
|
- ป่าชายเลนถูกบุกรุกและเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง เช่น ฝั่งอ่าวไทยบริเวณจังหวัดหวัดจันทบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
| | ป่าชายเลนถูกเปลี่ยนเป็นนากุ้ง
|
- ป่าชายเลนที่มีเอกสารสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์ไม่คุ้มทุน เช่น การปลูกป่าชายเลนหรือการทำนากุ้ง จึงขายพื้นที่ให้กับนายทุน ตลอดจนการใช้ที่ดินที่ไม่เหมาะสมจนเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น
|
| ป่าชายเลนที่เป็นพื้นที่ของเอกชน
| การทำไม้ในป่าชายเลน
|
Last updated: 2012-12-01 12:12:47
|
@ เสวนาจากงานวิจัย......สู่การจัดการป่าชายเลนที่ยั่งยืน |
|
|
|
|
|
|
|
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ เสวนาจากงานวิจัย......สู่การจัดการป่าชายเลนที่ยั่งยืน
|