ไม่โกรธถ้าใครคิดถึงเราในทางที่ไม่ดีจงคิดว่าจะทำอะไรให้เขาคิดถึงเราในทางที่ดี
 
     
 
บทบาทไม้ไผ่กับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย
ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทยจะมีอาชีพการประมงเป็นหลัก เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำ ก็จะมีไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ
 

ไม้ไผ่เกิดหน่อใหม่เรียกว่า หน่อไม้ รสชาติหวานอร่อยขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดพันธุ์ จากคำเล่าลือว่า หน่อไม้ไผ่รวกจากเขาอุทัย จะหวานอร่อยนัก บรรจุเรียงลงในขวดเหล้าแม่โขงอย่างเป็นระเบียบสวยงามด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนอุทัยธานี  นึ่งฆ่าเชื้อปิดจุกผนึกด้วยครั่ง เก็บไว้กินได้หลายเดือน กล่าวถึงไม้ไผ่ ที่ใช้ ในชีวิตประจำวันของคนไทยคือ ไม้ไผ่รวกจะมีขนาดเล็ก ถ้าเป็นไม้ไผ่ที่เป็นปล้องใหญ่หน่อย เรียกรวมๆกันตามลักษณะว่า ไม้ไผ่ พันธ์ที่รู้จักกันดี คือไผ่ตงไผ่บง ไผ่สีสุข หากไม่รู้จักชนิดก็เรียกรวมๆกันว่าไผ่ป่าไปเลย สำหรับในครั้งนี้ไม่ได้มากล่าวถึงชนิดไม่ไผ่ และลักษณะของไม้ไผ่ แต่อยากให้ผู้รู้ช่วยกันมาขยายความรู้ต่อไปด้วย ซึ่งส่วนนี้มีความสำคัญต่อผลความสำเร็จของการใช้ไม่ไผ่ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทยเสียด้วย ก็คือ ความแข็งแกร่งของชนิดไม้ไผ่นี้เอง

ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลของประเทศไทยจะมีอาชีพการประมงเป็นหลัก เครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการจับสัตว์น้ำ ก็จะมีไม้ไผ่เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำคอกหอยแครง หรือการปักไม้ไผ่เพื่อล่อหอยแมลงผู้ ชาวบ้านในจังหวัดสมุทรสาคร มีภูมิปัญญานี้มาแต่ครั้งอดีตกาล   เมื่อปี พศ 2540 ได้เกิดพายุชื่อว่า รินดา พัดเข้าอ่าวไทยพิ้นที่ในหลายจังหวัด ชายฝั่งทะเล ได้รับผลกระทบจากพายุนี้ จังหวัดสมุทรสาคร ก็เป็นจังหวัดหนึ่งเช่นเดียวกัน ที่ได้รับผลกระทบ มีผลทำให้เกิด การกัดเซาะชายฝั่งทะเลอย่างรุนแรงมากกว่าครั้งใดๆ ซึ่งตามปกติ คลื่นลมตามฤดูกาล ก็จะมีผลต่อการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นประจำอยู่แล้ว จากเหตุการณ์นี้ ชาวบ้าน ตามริมชายฝั่ง เริ่มมีความตระหนักถึงปัญหาและมีการรวมตัวกันที่จะคิดแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อย่างเป็นรูปธรรม ( รูปปักหอยแมลงภู่ คอกหอยแครง)


ในการประกอบอาชีพดั้งเดิมของชุมชนชายฝั่งจัหวัดสมุทรสาครคือ การทำคอกหอยแครง และการปักไม้ไผ่ล่อหอยแมลงภู่ชาวบ้านได้สังเกตเห็นว่า จะมีตะกอนเลนมาตกลงหลังแนวไม้ไผ่ที่ปักไว้ ต่อมาปี พศ 2549 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ร่วมกับชุมชนชายฝั่ง ตำบลโคกขาม และตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม และนักวิชาการจากจุฬาลงกรณ์มหาลัย มาร่วมกันศึกษารูปแบบและชนิดของไม้ไผ่ รวมถึงระยะทางห่างจากชายฝั่งที่เหมาะสมในการปักไม้ไผ่ แล้วสามารถทำให้ตะกอนตกลงหลังแนวไม้ไผ่ได้  ซึ่งในรอบหนึ่งปี ตะกอนจะถูกพัดพามาตกลงในช่วงฤดูหนึ่งและถูกพัดพาออกไปในอีกช่วยฤดูหนึ่งดังนั้นพื้นที่ ที่มีการตกตะกอนมากว่าการถูกพัดพาออกไปในรอบหนึ่งปี ก็หมายความว่า มีการตกตะกอนเพิ่มมากขึ้น จึงจะเป็นการพูดได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากที่ผ่านมามีบางท่านไปพบเห็นช่วงฤดูที่มีการตกตะกอน ก็จะบอกว่ามีตะกอนมาตกมากเหลือเกิน หรือมีบางท่านไปพบเห็นในฤดูที่ถูกพัดพาตะกอนออกไป ก็จะบอกว่ามีการกัดเซาะมากเหลือเกิน เช่นกัน และสรุปผลจากการศึกษาได้พบว่ารูปแบบการปักไม้ไผ่ตง เป็นแนวห่างกันประมาณสิบเซ็นติเมตร เรียงกันไปและมีหลายชั้น ประมาณห้าชั้น เพื่อความทนทานต่อแรงคลื่นลมโดยปักลึกลงไป ประมาณสองเมตร ละโผล่พ้นน้ำมาประมาณ สามเมตรเพื่อกันคลื่นเมื่อน้ำทะเลขึ้นสูงสุด ไม่ให้คลื่นพัดข้ามพ้นแนวไม้ไผ่ ซึ่งในระยะทางปักไม้ไผ่ยาวหนึ่งเมตร จะใช้ไช้ไผ่ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3นิ้ว ยาว 5เมตรจะใช้ไม้ไผ่ประมาณ35ลำ  โดยมีระยะห่างจากชายฝั่ง ประมาณ 50 เมตร จะเป็นช่วงระยะห่างที่พอดีให้ตะกอนสามารถตกลงได้และไม่ก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่เข้าสู่ชายฝั่งได้( รูปแสดงแนวปักไม้ไผ่ และการปักไม้ไผ่)

ลักษณะการกัดเซาะชายฝั่งจะเกิดเป็นรูปอ่าวเว้าเข้าไปในแผ่นดินกว้างหรือลึกแตกต่างกันไปการปักไม้ไผ่จะทำในช่วงระหว่างอ่าวนั้นๆ โดยจะปักในระยะห่างจากชายฝั่งที่ลึกที่สุดออกมา 50 เมตรเป็นแถวแรกและแถวที่ 2 ห่างออกมาอีก  50 เมตร ทำเป็นชั้นๆ ออกมาจนถึงขอบที่อยู่นอกสุด จำนวนชั้นขึ้นอยู่กับ ระยะทางของความลึกที่ถูกกัดเซาะเข้าไปลึกมากหรือน้อย และการปักไม้ไผ่ จะต้องปักให้ชนแนวป่าชนทั้งสองด้าน เพื่อให้ตะกอนเลนที่เกิดขึ้นขังตัวออยู่ภายในแนวไม้ไผ่   เมื่อตะกอนเลนที่ตกลงมาแล้วเริ่มแข็งตัวพอระยะเวลาประมาณ 2-3 ปี ก็จะสามารถปลูกป่าได้หรือจะให้เมล็ดไม้มางอกเองตามธรรมชาติก็ได้แต่จะใช้เวลามากหน่อย ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จะมีต้นแสมทะเล ขึ้นอยู่ตามชายฝั่ง ดังนั้นชนิดไม้ที่เหมาะสมก็ควรเป็นต้นแสมทะเลในระยะแรก โดยการเรียนรู้จากธรรมชาติ  ดังนั้นการจัดการเมล็ดธรรมชาติโดยการนำมาหว่านในพื้นที่ ก็เป็นเรื่องน่าสนใจที่จะต้องศึกษา และนำไปใช้ประโยชน์เพื่อลดความสิ้นเปลืองงบประมาณในการปลูกป่า(รูปสัตว์น้ำหอยปูปลา นก)


หลังจากปักไม้ไผ่แล้วเมื่อเกิดตะกอนจะมีสัตว์น้ำมาเกิดขึ้นมากมายหลายชนิด (จากการสังเกตของชาวบ้าน และการติดตามของนักวิชาการ)และที่มีจำนวนมากคือหอยแครง ปัจจุบันมีประเด็นความขัดแย้งมากขึ้น โดยชุมชนที่ต้องการอนุรักษ์หอยแครงที่เกิดตามธรรมชาติไว้ เพื่อการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติและใช้ประโยชน์เท่าที่จำนวนการเกิดของหอยแครงเพื่อความยั่งยืน กับชุมชนภายนอกที่ใช้เครื่องมือคราดหอยแครงที่จับทั้งตัวเล็กและตัวใหญ่ มาครั้งเดียวคราดหอยไปเกือบหมดซ้ำร้ายเมื่อตอนถอยเรือกลับช่วงน้ำลงกลัวไม่ทันจึงได้ถอนไม้ไผ่ออกเป็นช่องทางเรือสร้างความเสียหายให้กับแนวไม้ไผ่โดยตรง  รู้สึกจะพูดเรื่องอื่นมากไปหน่อย ขอกลับมาที่ไม้ไผ่ ต่ออีกซักหน่อยครับ แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ก็ยังเป็นสำคัญอยู่ดี คงจะต้องหาโอกาส มาเล่าให้ฟังและขอให้ มีการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการ ไว้อีกประเด็นด้วย

ไม้ไผ่ที่นำมาใช้ในการศึกษาครั่งนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นไม่ไผ่ตงซึ่งมาการปลูกมากเพื่อการผลิตหน่อไม้ขายในเขตจังหวัดปราจีนบุรีละกระจายในจังหวัดรอบๆ เช่น ระยอง และจันทรบุรี ก็มีอยู่
เหมือนกัน ทุกๆปีหลังจากเก็บไม้ไผ่แล้วก็จะต้องจัดการกับไม้ไผ่ที่แก่ออกไป เพื่อรอผลผลิตในปีหน้า ไม้ไผ่ที่ตัดสางออกไปเหล่านี้จะนำมาใช้ในโครงการปักไม้ไผ่ ป้องกันแนวชายฝั่งทะเลไทย โดยจะใช้ไม้ไผ่ ประมาณ 35000 ลำ ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร ซึ่งในปีที่ผ่านมาและปีนี้มีโครงการลักษณะเช่นนี้ ทั้งของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเอง จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม กรุงเทพมหานคร รวมกันแล้วประมาณ 20 กิโลเมตรจึงต้องใช้ไม้ไผ่ จำนวนเป็นล้านลำจึงเกิดความขาดแคลนนอกจากนี้ เมื่อปักไม้ไผ่ไปแล้ว จะต้องมีการบำรุงรักษาซ้องแซม ไม้ไผ่ตงที่ใช้บริเวณโคนต้นจะมีความคงทนอยู่ประมาณ 4-5 ปี ดังนั้นชายฝั่งทะเลที่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอ่าวไทย มีระยะทางเกือบร้อยกิโลเมตร จึงต้องการใช้ไม้ไผ่อีกเป็นจำนวนมาก การส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ไผ่เพื่อเป็นไม้เศรษฐกิจจึงเป็นเรื่องที่ควรดำเนินการ และการพิจราณาคัดเลือกชนิดไม้ไผ่ที่เหมาะสมในการใช้ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งจึงขอฝากนักวิชาการที่สนใจด้านนี้แนะนำหรือศึกษาต่อไปด้วย

โอกาสหน้าขอนำเสนอกระบวนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานปักไม้ไผ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและแนวทางบริหารการจัดการหลังการปักเสร็จสิ้น สวัสดี

ทุภาษิตเกี่ยวกับไม้ไผ่
ไม่มีอะไรในกอไผ่
ขึ้นต้นเป็นลำไม้ไผ่พอเหลาลงไปเป็นบ้องกัญชา


Last updated: 2011-09-18 20:09:33


@ บทบาทไม้ไผ่กับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ บทบาทไม้ไผ่กับการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
2,410

Your IP-Address: 3.143.241.253/ Users: 
2,409