ส่วนที่ 4
การเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการตั้งรับปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปรงสภาพภูมิอากาศ
�
��������������� การนำเสนอในส่วนนี้ดำเนินรายการโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เยาวนิจ� กิตติธรกุล จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีผู้ร่วมนำเสนอ 7 ท่าน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
��������������� 1. นางสาวภาวิณี อยู่ประเสริฐ ผู้แทนจากสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย นำเสนอเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของโครงการเพิ่มศักยภาพการปรับตัวของชุมชนชายฝั่งที่เสียงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอากาศ
��������������� 2. นายประสาร� สถานสถิตย์ ผู้จัดการมูลนิธิรักษ์ไทย ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ประชาชนชายฝั่งทะเลเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย
��������������� 3. นายปัญญา� หวังมาก จากชุมชนบ้านท่าคลอง อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ ได้นำเสนอประสบการณ์การดำเนินงานของชุมชนเกี่ยวกับการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการตั้งรับปรับตัวของชุมชมทางทะเลและชายฝั่ง โดยดำเนินกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน
��������������� 4. นายสมเกียรติ บัญชาพัฒนาศักดา จากสภาวัดตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง ได้ให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ของชุมชนที่เชื่อมการดำเนินงานของชุมชนทั้งในภูมินิเวศต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำในการวางแผนและดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเตรียมรับกับภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น
��������������� 5. นางธิดา� พงษ์อาสา ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน บ้านนาปาขอ จังหวัดพัทลุง ได้นำเสนอกิจกรรมของกลุ่มและชุมชนต่อการลดความเสี่ยงในการเกิดภัยพิบัติ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นและส่งเสริมบทบาทของเยาวชนในพื้นที่
��������������� 6. นายไพสิทธิ์� พานพบ รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าทราย จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยนำเสนอประสบการณ์และความคิดเห็นถึงภัยพิบัติที่เคยเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราช และแนวทางป้องกันแก้ไข โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน
��������������� 7. นายสุรศักดิ์� อินทรประเสริฐ กำนันตำบลไม้รูด จังหวัตราด ได้นำเสนอเกี่ยวกับประสบการณ์ของชุมชนในการดำเนินแผนยุทธศาสตร์และกิจกรรมต่างๆ ที่เตรียมรับมือกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดตราด
�
��������������� การนำเสนอของทั้ง 7 ท่าน สามารถสรุปเนื้อหาที่สำคัญในภาพรวมได้ดังนี้
��������������� 1. ผลกระทบจากภัยพิบัติต่อชุมชน ภูมินิเวศของชุมชนอาจมีความแตกต่างกันไปโดยอาจแบ่งเป็นภูมินิเวศต้นน้ำ ภูมินิเวศกลางน้ำ ภูมินิเวศปลายน้ำ และภูมินิเวศทะเล ซึ่งภูมินิเวศทั้งหมดมีการเชื่อมโยงกันทางระบบนิเวศ ซึ่งหากเกิดภัยพิบัติ แล้วอาจส่งผลกระทบถึงกันได้ ผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สามารถกำหนดได้ดังนี้
��������������� 1.1 ผลระบบต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การเปลี่ยนแปลงทามภูมิอากาศ เช่น ภาวะฝนแล้งหรือตกชุกเกินไป อุณหภูมิที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ บางชนิดไม่สามารถทนอยู่ได้ต้องอพยพออกนอกพื้นที่ ขณะเดียวกันอาจมีชนิดอื่นเข้ามาอยู่อาศัยแทน ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไปรวมทั้งมีแนวโน้มว่าความหลากหลายทางชีวภาพ จะลดลงเนื่องจากสิ่งมีชีวิตบางชนิดไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรุนแรง
��������������� 1.2 ผลกระทบต่อการเกษตรและแหล่งน้ำ ในแต่ละภูมินิเวศมักประสบปัญหาภัยพิบัติที่แตกต่างกัน ทั้งในด้านการเกิดดินถล่ม ภาวะฝนทิ้งช่วง การเกิดน้ำท่วม การกัดเซาะพังทลายของชายฝั่งทะเล ฯลฯ ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ส่งผลต่อการเกษตรและแหล่งน้ำของแต่ละภูมินิเวศหลายๆด้าน เช่น การได้รับผลผลิตน้อย ผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย ความชุกชุมของสัตว์น้ำลดลง การตื้นเขินของแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณและความเค็มของน้ำทะเล การสูญหายของสัตว์น้ำชายฝั่งบางชนิด
��������������� 1.3 ผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศรุนแรง สภาพภูมิอากาศในภูมินิเวศต่างๆของประเทศไทยในอดีต ส่วนมากเป็นไปตามฤดูกาลอย่างชัดเจนถึงแม้มีการแปรปรวนในรอบปีอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากนัก อยู่ในวิสัยการปรับตัวของชุมชนในภูมินิเวศนั้นๆ อย่างไรก็ตามในระยะหลังมักปรากฏว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้นในบางชุมชน ที่พบมากในภูมินิเวศชายฝั่ง ได้แก่การเกิดลมพายุ การเกิดวาตภัย การพังทลายของชายฝั่งส่งผลต่อความเสียหาย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นอย่างมาก
��������������� 1.4 ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิตและสังคม คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนชายฝั่งมีแนวโน้มว่าลดลงกว่าในอดีตเป็นอย่างมากโดยต้องเผชิญภัยความเสี่ยงและภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่เกิดความมั่นคงต่อการดำรงชีวิต รวมทั้งภัยบางด้าน ส่งผลต่อสุขภาพของคนโดยตรงอีกด้วย ทั้งนี้ทำให้สภาพชุมชนในสังคมมีความอ่อนแอ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เช่นในอดีต
��������������� 1.5 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ จากการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติที่เกิดขึ้นนอกจากจะสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนแล้ว ยังส่งผลต่อการประกอบอาชีพ ของชุมชนเป็นอย่างมาก ทำให้รายได้จากการประกอบอาชีพลดน้อยลงไป ขณะเดียวกันก็มีภาระค่าใช้จ่ายในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวกับภัยพิบัติมากขึ้น ทำให้บางชุมชนเกิดภาระหนี้สินที่พอกพูนขึ้นตามลำดับ
�
��������������� 2. ปัจจัยความเสี่ยง ภัยพิบัตินี้เกิดขึ้นในชุมชนชายฝั่ง ที่ผ่านมานับวันแต่จะมีผลกระทบหลายรูปแบบและทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่วนอัตราความรุนแรงมีมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงในด้านต่างๆของชุมชนซึ่งมีแตกต่างกันไป ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่
��������������� 2.1 ปัจจัยทางกายภาพ ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ พืชพรรณที่มีอยู่ในธรรมชาติ คุณลักษณะของดิน ความสูงต่ำของพื้นที่ ฯลฯ ชุมชนที่อยู่ชายฝั่ง มักได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำทะเลท่วมถึงได้ง่าย ขณะที่ชุมชนติดภูเขาอาจประสบปัญหาการพังทลายของดิน
��������������� 2.2 ปัจจัยทางภูมิอากาศ ส่วนใหญ่มีผลมาจากความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ปริมาณฝน อุณหภูมิ ซึ่ง น่าจะมีอิทธิผลมาจากปัญหาโลกร้อน บางชุมชนอาจจะมีปริมาณฝนมากในบางช่วง ขณะเดียวกันบางชุมชนประสบปัญหาภัยแล้ง
��������������� 2.3 ปัจจัยด้านสังคม กิจกรรมการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตของคนทั้งในและนอกชุมชน ล้วนส่งผลต่อการเกิดภัยพิบัติให้แก่ชุมชน หากมีการดำเนินงานที่ไม่เหมาะสม เช่น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าชายเลน ไปทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทำให้เกิดการกัดเซาะพังทลายบริเวณชายฝั่งได้ง่าย
��������������� 2.4 ปัจจัยด้านการเมือง นโยบายของรัฐบาลหรือการดำเนินงานของหน่วยงานในท้องถิ่น อาจส่งผลกระทบให้เกิดภัยพิบัติต่อชุมชนชายฝั่ง เช่น การอนุญาตให้มีการจัดตั้งอุตสาหกรรมในบริเวณข้างเคียงชุมชน การก่อสร้างสาธารณูปโภคที่ขาดการวางแผนอย่างเหมาะสม
��������������� 2.5 ปัจจัยด้านความรู้ หลายชุมชนขาดความรู้ที่เพียงพอ หรือทันต่อเหตุการณ์ที่มีการผันแปรไปมาก ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ไม่สามารถปรับตัวในการพร้อมรับกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้น หรืออาจมีการกระทำบางอย่าง ที่หนุนเสริมให้เกิดภัยพิบัติมากขึ้นในชุมชน เช่นการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ในบริเวณต้นน้ำลำธาร การใช้สารเคมีในปริมาณสูงและเกินความจำเป็น
��������������� 2.6 ปัจจัยด้านงบประมาณ ในบางชุมชนชายฝั่งมีการตระหนักถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น แต่ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมในการป้องกันภัยพิบัติได้เนื่องจากการขาดแคลนงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการดำเนินการ เช่น การขาดแคลนอุปกรณ์สื่อสาร การติดตั้งอุปกรณ์เตือนภัยในชุมชน การสร้างแนวป้องกันคลื่นลมทะเลเพื่อลดการกัดเซาะพังทลายชายฝั่ง
�
��������������� 3. เป้าหมายในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ การที่ชุมชนชายฝั่งตั้งอยู่ในบริเวณที่ค่อนข้างเสียงต่อการเกิดภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ซึ่งหากไม่มีการเตรียมพร้อมในการรับภัยพิบัติ อาจทำให้ชุมชนเกิดความเสียหายอย่างมากมาย ในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ควรกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานดังนี้
��������������� 3.1 สร้างความรู้และความตระหนัก มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชุมชนชายฝั่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดการยอมรับ และเรียนรู้เพื่อแสวงหาแนวทาง ในการเตรียมรับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ทั้งนี้อาจมีการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน ที่เป็นการใช้ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมกับความรู้และวิชาการจากหน่วยงานภายนอก
��������������� 3.2 พัฒนาขีดความสามารถชุมชน ในการจัดการความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นต้องมีการศึกษาตลอดจนมีแนวทางการเพิ่มศักยภาพของคนให้มีความพร้อม เพื่อรับมือต่อการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งในการพัฒนาขีดความสามารถนี้ ชุมชนต้องมีการกำหนดกิจกรรมและบุคคลที่จะทำการพัฒนาให้รอบด้านและเหมาะสมต่อการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำในชุมชนต้องตระหนักถึงความสำคัญในด้านนี้ให้มาก
��������������� 3.3 การจัดทำแผนเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ ชุมชนควรกำหนดแผนงานหรือกิจกรรมที่เหมาะสมต่อการเตรียมพร้อมรับรับภัยพิบัติ โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่ในชุมชนและข้อมูลในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ การจะจัดทำแผนควรกำหนดกิจกรรมต่างๆ ให้ครอบคลุมและเหมาะสมโดยต้องสอดคล้องกับแผนงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัดภูมิภาคและประเทศ
��������������� 3.4 การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน การดำเนินงานเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติของชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน และหน่วยงานต่างประเทศเนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ยังขาดศักยภาพและทรัพยากรที่ดำเนินการเองได้ทั้งหมด ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการบูรณาการทำงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อการรับมือกับภัยพิบัติร่วมกับชุมชน
��������������� 3.5 การจัดการความรู้ของชุมชน ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความเสี่ยง และการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติ และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชุมชน ควรที่จะให้มีการรวบรวมจัดไว้เป็นหมวดหมู่ที่ง่ายต่อการค้นคว้าศึกษาเพิ่มเติม รวมทั้งควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อให้เกิด ประโยชน์ต่อทั้งภายในชุมชน และชุมชนอื่นๆ ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
�
��������������� 4. กิจกรรมการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติ และการตั้งรับปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง ชุมชนในแต่ละภูมินิเวศควรมีการดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการตั้งรับปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง ทั้งนี้กิจกรรมต่างๆของชุมชนควรมีการเชื่อมโยงให้ครอบคลุมทุกระบบนิเวศที่มีในชุมชนมิใช่ดำเนินการเฉพาะเพียงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ซึ่งจะให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนในภาพรวม สำหรับกิจกรรมนั้นประกอบด้วย
��������������� 4.1 การปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ บางชุมชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติทั้งการเกิดภาวะฝนแล้ง การเกิดฝนตกหนักในบางช่วงเวลา การเกิดดินโคลนถล่ม ฯลฯ ควรต้องมีการกำหนดกิจกรรมเพื่อเฝ้าระวังและชะลอความเสียงโดยการติดตามสถานการณ์และความแปรปรวนของอากาศที่จะมีผลกระทบต่อชุมชน โดยการรายงานข้อมูลให้ชุมชนได้รับทราบเพื่อการปรับตัวเป็นระยะๆ รองรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เช่นการสร้างแหล่งเก็บกักน้ำผิวดิน
��������������� 4.2 การปรับตัวโดยการวางแผนใช้ที่ดินและจัดทำผังชุมชน เท่าที่ผ่านมาชุมชนชายฝั่งมักมีการขยายตัวโดยประสบการการวางแผนที่ดินอย่างเหมาะสม มีการก่อสร้างสาธารณูปโภค และสิ่งก็สร้างต่างๆที่ไม่มีแบบแผนทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยพิบัติที่รุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนโดยการวางแผนใช้ที่ดินและจัดทำผังชุมชนให้มีความเหมาะสม ทั้งนี้ควรดำเนินการในภาพรวมทั้งหมด ของชุมชนตั้งแต่ต้นน้ำ ถึงปลายน้ำ
��������������� 4.3 การปรับตัวในด้านวิถีชีวิต และการประกอบอาชีพ วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งมักต้องพึ่งพิงธรรมชาติในบางด้านเป็นหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประมง ที่มักได้รับความเสียหายจากการเกิดภัยพิบัติ ซึ่งควรมีการกำหนดแผนงานงานที่เหมาะสมเช่นการจัดตัวกองทุนเพื่อช่วยฟื้นฟูเครื่องมือประมงที่เกิดความเสียหาย นอกจากนี้การประกอบอาชีพบางด้านที่ดำเนินการ อาจต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาลที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการจัดหาอาชีพที่เหมาะกับชุมชนบางพื้นที่อาจต้องเน้นใช้พืชพันธุ์เมืองที่มีความสามารถปรับตัวได้ดี
��������������� 4.4 การปรับตัวในด้านทรัพยากรธรรมชาติ บางชุมชนมีความเสียงกับการเกิดภัยพิบัติเนื่องจากทรัพยากร ธรรมชาติ มีความเสื่อมโทรมลงจากการใช้ประโยชน์หรือความรู้เท่าไม่ถึงกาลจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูโดยเร่งด่วน เช่นการปลูกป่าต้นน้ำลำธาร การปลูกป่าชายเลน การอนุรักษ์ฟื้นฟูปะการัง และหญ้าทะเล เพราะอาจปล่อยทิ้งไว้ อาจสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศและก่อให้เกิดภัยพิบัติเป็นการต่อเนื่อง
��������������� 4.5 การสร้างเครือข่ายชุมชน มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อชุมชนต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเปลี่ยนแปลงเรียนรู้ ด้านทักษะและประสบการณ์ในการเตรียมพร้อมรับภัยพิบัติและการตั้งรับปรับตัวของชุมชนชายฝั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้จากชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยเสริมความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนของตนเองอีกทางหนึ่งด้วย
��������������� 4.6 การสร้างจิตสำนึกให้เยาวชน หลายชุมชนได้กำหนดกิจกรรมที่มุ่งหมั่นในการสร้างจิตสำนึกแก่เยาวชน ในการรักและหวงแหนถิ่นเกิด ตลอดจนมีจิตอาสาต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยในการเตรียมพร้อมรับกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเยาวชนเหล่านี้เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งต่อการสานต่อกิจกรรมของชุมชนได้ต่อไปในอนาคต

Last updated: 2013-04-04 21:21:51