กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
การทำงานเป็นทีมได้ดี ต้องไม่กังวลว่าคนอื่นทำน้อยกว่าเรา
 
     
 
สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย
การกัดเซาะชายฝั่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการเกิดการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเล ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในรูปของการกัดเซาะจากที่หนึ่งแล้วไปตกตะกอนทับถมอีกแห่งหนึ่ง
 

ประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาวประมาณ 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัดโดยชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย มีความยาว 2,055.18 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 17 จังหวัด และชายฝั่งทะเลด้านอันดามัน มีความยาว 1,093.14 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทะเลรวม 6 จังหวัด (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2554) ปัจจุบันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นที่ยอมรับว่าต้องมีการเยียวยาอย่างเร่งด่วนเนื่องจากมีผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ชายฝั่งกว่า 12 ล้านคน และพื้นที่ชายฝั่งยังมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจหลายด้าน ได้แก่ การท่องเที่ยว การอุตสาหกรรม การเกษตรกรรม การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงชายฝั่ง ซึ่งสามารถสร้างอาชีพและรายได้ต่อชุมชนและประเทศอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบต่อระบบนิเวศและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วย ป่าชายเลน แนวปะการัง และหญ้าทะเลอีกด้วย

ปี พ.ศ. 2554 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ศึกษาและรวบรวมข้อมูลแนวชายฝั่ง (Shoreline) ในรูปแบบ GIS จากผลการศึกษาต่างๆที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2544 – 2551 และจัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งประเทศไทย สรุปได้ดังตาราง ดังนี้

 

 

ด้าน / จังหวัด

ข้อมูลจำนวนขอบเขตพื้นที่

ข้อมูลจำนวนพื้นที่

ที่ถูกกัดเซาะ

ความยาวชายฝั่ง (กม.)

แนวชายฝั่งถูกกัดเซาะ (กม.)

อำเภอ

ตำบล

อำเภอ

ตำบล

ปานกลาง

รุนแรง

รวม

ด้านอ่าวไทย

216

1,424

66

239

2,055.18

       501.81

228.22

    730.03

1. จ.ตราด

7

38

3

16

184.30

         46.63

-

      46.63

2. จ.จันทบุรี

10

76

4

9

102.25

         23.21

      12.00

      35.21

3. จ.ระยอง

8

58

3

15

104.48

         53.66

-

      53.66

4. จ.ชลบุรี

11

92

4

22

171.78

         25.14

-

      25.14

5. จ.ฉะเชิงเทรา

11

50

1

3

16.28

           2.04

        5.85

        7.89

6. จ.สมุทรปราการ

6

50

3

6

50.21

           3.22

      31.47

      34.69

7. จ.กรุงเทพมหานคร

50

154

1

1

5.81

-

        5.71

        5.71

8. จ.สมุทรสาคร

3

40

1

8

42.78

         19.69

      13.76

      33.45

9. จ.สมุทรสงคราม

3

36

1

4

25.20

           2.96

-

        2.96

10. จ.เพชรบุรี

8

93

4

13

91.73

         39.35

      10.39

      49.75

11. จ.ประจวบคีรีขันธ์

8

48

8

23

246.75

         76.19

        1.93

      78.12

12. จ.ชุมพร

8

70

6

22

247.75

         31.94

        -

      31.94

13. จ.สุราษฎร์ธานี

19

131

7

20

166.38

         29.85

        7.72

      37.57

14. จ.นครศรีธรรมราช

23

169

6

25

244.99

         53.21

      73.66

    126.87

15. จ.สงขลา

16

127

6

28

157.90

         41.09

      13.43

      54.53

16. จ.ปัตตานี

12

115

6

18

138.83

         37.67

      24.27

      61.94

17. จ.นราธิวาส

13

77

2

6

57.76

         15.96

      28.03

      43.99

ด้านอันดามัน

41

271

25

81

1,093.04

      74.98

      25.06

    100.04

18. จ.ระนอง

5

30

3

7

137.92

         12.16

        7.63

19.79

19. จ.พังงา

8

48

6

18

241.53

17.16

-

17.16

20. จ.ภูเก็ต

3

17

3

15

205.89

4.64

1.56

6.20

21. จ.กระบี่

8

53

5

17

216.31

16.55

5.08

21.63

22. จ.ตรัง

10

87

4

11

136.33

14.86

3.94

18.80

23. จ.สตูล

7

36

4

13

155.07

9.60

6.86

16.46

รวมชายฝั่งประเทศไทย

257

1,695

91

320

3,148.23

576.79

253.28

830.07


 


การกัดเซาะชายฝั่งอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นกระบวนการเกิดการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเล ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาในรูปของการกัดเซาะจากที่หนึ่งแล้วไปตกตะกอนทับถมอีกแห่งหนึ่ง เนื่องมาจากอิทธิพลของชลศาสตร์ ได้แก่ คลื่น และทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่นเข้าหาฝั่ง ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของตะกอน ณ จุดหนึ่ง ๆ หากตะกอนเคลื่อนตัวเข้ามาน้อยกว่าออกไปจะก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง การเกิดการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งจะค่อย ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่ความสมดุลตามธรรมชาติ


Last updated: 2011-08-15 21:08:59


@ สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย
 


 
     
เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งทะเลของไทย
 
     
     
   
     
Untitled Document
 



LFG
www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
Powered by: LOOK FOREST GROUP
23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
Clicks: 
3,015

Your IP-Address: 3.133.139.28/ Users: 
2,932