กรอก email ที่ต้องการส่งแล้วกด Send
รู้จักให้...ในสิ่งที่คนอื่นอยากได้
 
     
 
การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วม
ปีสุดท้ายของโครงการเป็นการสรุปผลแนวทางการจัดการและรวบรวมบทเรียนความรู้เพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ และเชิงนโยบาย
 

นวทางของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คือ การนำพื้นที่ที่ถูกเปลี่ยนไปนั้นกลับคืนมา เช่น พื้นที่นากุ้ง   เป็นต้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนกลับคืนมาได้ง่ายที่สุด ต่างจากพื้นที่อื่น เช่น ท่าเรือ และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เป็นต้น แนวทางดังกล่าวเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่าได้อีกด้วย ในขณะเดียวกันพบว่ามีป่าชายเลนของเอกชนในจังหวัดสมุทรสงครามถึงจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นป่าที่กำหนดเป็นเขตป่าชายเลนตามมติคณะรัฐมนตรี ทางกรมทรัพยากรทางทะเลฯ ยังไม่มีนโยบายหรือการจัดการที่เป็นรูปธรรมกับพื้นที่ลักษณะนี้

สำหรับงานวิจัยในโครงการแนวทางการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยประชาชนมีส่วนร่วม กรณีศึกษาพื้นที่นำร่อง 5 แห่ง เป็นการดำเนินงานของกรมทรัพยากรทางทะเลฯ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการป่าชายเลนให้เกิดความยั่งยืนทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการเสนอความคิดเห็นเพื่อจัดทำนโยบายและแผนการบริหารจัดการการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าชายเลน และสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน พื้นที่นำร่อง 5 แห่ง ครอบคลุม 6 จังหวัด 20 อำเภอ 67 ตำบล 186 หมู่บ้าน พื้นที่รวม 319,982 ไร่ ประกอบด้วย

 

  1. ตัวแทนภาคตะวันออก คือ ลุ่มน้ำเวฬุ จังหวัดจันทบุรี              
  2. ตัวแทนภาคกลาง คือ ปากน้ำบางตะบูน จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดเพชรบุรี
  3. ตัวแทนภาคใต้ฝั่งตะวันออก คือ อ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎ์ธานี
  4. ตัวแทนภาคใต้ฝั่งตะวันตก คือ ปากแม่น้ำกระบุรี จังหวัดกระบี่ และลุ่มน้ำปะเหลียน จังหวัดตรัง
 

การดำเนินงานระยะที่ 1 ปี 2547-2549 เป็นระยะปรับตัวและวางแผนร่วม คือ ปรับทัศนคติเจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรทางทะเลฯ องค์กรท้องถิ่น และชุมชน ในการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการ เนื่องจากกรมทรัพยากรทางทะเลฯ แยกจากกรมป่าไม้ เจ้าหน้าส่วนใหญ่รับผิดชอบดำเนินการปราบปรามการทำผิดกฎหมาย ทำให้มีความคิดเห็นไม่ตรงกับชาวบ้าน การจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ สภาพเศรษฐกิจ และสังคมท้องถิ่นร่วมกัน จัดทำแผนปฏิบัติงานและแนวยุทธศาสตร์การจัดการอย่างยั่งยืนจำนวน       6 แผนงาน 66 โครงการ ได้แก่ การสำรวจทรัพยากรและฐานข้อมูล การสาธิตการจัดการทรัพยากรร่วมกับชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์ การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มและเครือข่ายการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากร การส่งเสริมและพัฒนาความรู้เพื่อการถ่ายทอดความรู้โดยเน้นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ด้านป่าชายเลน


การดำเนินงานระยะที่ 2 ปี 2550-2553 เป็นระยะดำเนินงานและพัฒนา โดยดำเนินการตามโครงการ การสร้างกลุ่มและเครือข่ายและภาคประชาชนภายในสามปีแรก ส่วนปีสุดท้ายของโครงการเป็นการสรุปผลแนวทางการจัดการและรวบรวมบทเรียนความรู้เพื่อถ่ายทอดสู่ชุมชน และจัดทำแผนยุทธศาสตร์เชิงพื้นที่ และเชิงนโยบาย


ผลการดำเนินงานของ

  • แผนงานที่ 1 ได้มีการสำรวจทรัพยากรและฐานข้อมูลของพื้นที่นำร่องทั้ง 5 แห่ง
  • แผนงานที่ 2 การสาธิตการจัดการทรัพยากรป่าชายเลนร่วมกับชุมชน เช่น การทำนาเกลือผสมผสาน กิจกรรมการเลี้ยงปูดำแบบผสมผสาน แปลงสาธิตการเลี้ยงหอยแครงในป่าชายเลน และแปลงวนเกษตรในป่าชายเลน เป็นต้น
  • แผนงานที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาด้านการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลน เช่น การใช้ประโยชน์จากต้นจาก และเตยปาหนัน ผลิตภัณฑ์จากใบขลู่ และถ่านอัดแท่งจากเศษถ่านไม้โกงกาง เป็นต้น
  • แผนงานที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนากลุ่มและเครือข่ายการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรป่าชายเลน เช่น การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับพื้นที่นำร่องทั้ง 5 แห่ง
  • แผนงานที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาความรู้เพื่อการถ่ายทอดความรู้เน้นศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ด้านป่าชายเลน และ
  • แผนงานที่ 6 ได้มีการติดตามและประเมินผลในพื้นที่นำร่องทั้ง 5 แห่ง



     


    Last updated: 2013-01-01 17:37:24


    @ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วม
     


     
         
    เชิญท่านเป็นบุคคลแรกที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความ การฟื้นฟูระบบนิเวศป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วม
     
         
         
       
         
    Untitled Document
     



    LFG
    www.lookforest.com|บทความ|โปรแกรมคาร์บอนต้นไม้|ฐานข้อมูลชีวภาพ|เครือข่ายฟาร์มป่าไม้|ติดต่อบรรณาธิการ
    Powered by: LOOK FOREST GROUP
    23/1 ซอยรัชดาภิเษก 64 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กทม.
    Clicks: 
    1,426

    Your IP-Address: 3.135.214.139/ Users: 
    1,424