|
|
|
|
|
มะกล่ำต้น
(Adenanthera pavonina Linn. ) T [96]
MIMOSACEAE Redwood , Coralwood , Red Sandalwood , Sandalwood , Bead Tree
|
|
|
มะกล่ำต้น, มะกล่ำตาช้าง(ทั่วไป); มะแค้ก, หมากแค้ก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), มะแดง, มะหัวแดง, มะโหกแดง(เหนือ) English: Sandalwood Tree, Bead Tree
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[96] มะกล่ำต้น ( Adenanthera pavonina) MIMOSACEAE มะกล่ำต้น, มะกล่ำตาช้าง(ทั่วไป); มะแค้ก, หมากแค้ก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน), มะแดง, มะหัวแดง, มะโหกแดง(เหนือ) English: Sandalwood Tree, Bead Tree
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่กระจัดกระจายในป่าเบญจพรรณ และป่าดงดิบทั่วไป |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงถึง ๒๐ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม มักจะเกินกว่าครึ่งความสูงของลำต้น ยอดอ่อนมีขนนุ่ม เป็นมันคล้ายเส้นไหม เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา หรือน้ำตาลอ่อน อาจมีรอยแตกระแหงเล็กๆบ้าง เปลือกในสีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้นสลับกัน ยาวประมาณ ๑๕-๔๐ ซม. ช่อแขนงด้านข้างมีประมาณ ๒-๖ คู่ มีใบย่อยแขนงละ ๗-๑๕ คู่ เรียงสลับกัน รูปรีแกมรูปบรรทัด กว้าง ๖-๑๕ มม. ยาว ๒๐-๓๕ มม. ขอบเรียบ ปลายมน โคนเบี้ยว ท้องใบสีนวล มีขนประปราย ดอกเล็ก สีเหลือง มีจำนวนมาก ออกบนช่อยาว เรียงชิดติดกันแน่น คล้ายหางกระรอก ช่อดอกออกเดี่ยวๆ หรือแตกกิ่งก้านบ้างตามง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ยาว สีน้ำตาล กว้าง ๑.๒ ซม. ยาว ๑๒-๒๐ ซม. แก่เต็มที่จะบิดงอคล้ายฝักมะขามเทศ และแตกแยกออกจากกันเป็น ๒ ซีก มีเมล็ดสีแดง โตขนาดเมล็ดข้าวโพดหลายเมล็ด |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแกมแดง มีริ้วสีอ่อนกว่าสีพื้น เสี้ยนสับสนเป็นริ้ว แคบๆ เนื้อละเอียด หรือค่อนข้างละเอียด แข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก ขัดชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๓ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ใช้ได้ทนดี |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน เกวียน ฯลฯ ใช้เป็นยา ใช้ฝนกับน้ำปิดขมับแก้ปวดศีรษะ กินกับน้ำอุ่นทำให้อาเจียน
ราก แก้ทางเสมหะ แก้ร้อนในและอาเจียน แก้หืดไอ และพิษฝี
ใบ ต้มรับประทานแก้ปวดข้อ ลมเข้าข้อ เป็นยาสมานและบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง และบิด
เมล็ด พอกดับพิษ บดเป็นผงรักษาแผลที่เกิดหนองและฝี ผสมกับน้ำผึ้งรับประทานแก้จุกเสียด แก้หนองใน ฝนกับน้ำ ทาแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
ใบและเมล็ด แก้ริดสีดวงทวารหนัก
|
|
|