All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[868]
 
น่อง
Antiaria toxicaria
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
น่อง (Antiaria toxicaria Lesch. ) T [868]
MORACEAE
Upas Tree
 
  น่อง, ยางน่อง(กลาง); ก๊อง(เงี้ยว-เชียงใหม่); จ้อยนาง, ยอน, ยาค่าง, ยางค่าง, ย่าน่อง, หมากลิ้นอาง(เชียงใหม่); จิว(กะเหรี่ยง-ตาก); ชะแวะ, ยางน่องขาว(นครราชสีมา); โต๊ะเหล่(กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน); ทรายเขา(ก LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: น่อง(Antiaria toxicaria) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: น่อง(Antiaria toxicaria) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[868]
น่อง ( Antiaria toxicaria)
MORACEAE
น่อง, ยางน่อง(กลาง); ก๊อง(เงี้ยว-เชียงใหม่); จ้อยนาง, ยอน, ยาค่าง, ยางค่าง, ย่าน่อง, หมากลิ้นอาง(เชียงใหม่); จิว(กะเหรี่ยง-ตาก); ชะแวะ, ยางน่องขาว(นครราชสีมา); โต๊ะเหล่(กะเหรี่ยง-แม่ฮองสอน); ทรายเขา(ก
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้น และตาป่าดงดิบทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อาจสูงถึง ๕๐-๖๐ เมตร ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว ลำต้นเปลา ตรง โคนมักเป็นพูพอน เรือนยอดเป็นรูปกรวย ตามกิ่งอ่อนมีขน เปลือกนอกเรียบ หรือค่อนข้างเรียบ สีขาวหรือเทาอมขาว เปลือกชั้นในสีขาว หรือขาวอมเหลือง ถากดูจะมีน้ำยางสีขาวอมเหลือง ซึมออกมาตามรอยถาก ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ ๑๐-๒๐ ซม. ก้านใบสั้นมาก ขอบใบอ่อนจะมีปลายเส้นใบยื่นออกไป ดูคล้ายขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีเส้นขอบใน ส่วนขอบใบแก่ค่อนข้างเรียบ ท้องใบอ่อนมีขนมาก หลังใบเกลี้ยง หรือเกือบเกลี้ยง ดอกสีเหลือง มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน ดอกเพศผู้ออกรวมกันเป็นกระจุกกลมแบน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ ซม. ก้านมีขน ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ผลกลม สีแดง ม่วง หรือเหลืองอมเขียว มีขน รสขม ที่ปลายมีใบประดับ
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาว เสี้ยนตรง อ่อน
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๘
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหีบใส่ของ รองเท้าไม้ เครื่องเล่น เมล็ด ใช้รักษาไข้ บิด ยาง หมอโบราณทางภาคเหนือกล่าวว่า ยางที่ได้จากต้นเป็นพิษ ใช้ชุบปลายลูกหน้าไม้ยิงสัตว์ใหญ่ได้ แต่ก่อนจะรับประทานเนื้อสัตว์นั้น ให้เฉือนเอาเนื้อร้ายที่มีสีเขียว อันเกิดจากพิษยางน่องออกจนหมดเสียก่อน จึงจะรับประทานได้ เปลือก ให้ใยละเอียดสีขาว ใช้ทำเชือกได้ และใช้เป็นเยื่อกระดาษได้อย่างดี ทุบทำเป็นที่นอน ผ้าห่ม เสื้อกางเกงของพวกขาวป่า เช่น แม้ว มูเซอ และเงาะ เป็นต้น