|
|
|
|
|
กระท้อน
(Sandoricum koetjape Merr. ) T [853]
MELIACEAE Sentul, Santol, Red Sentol, Yellow Sentol.
|
|
|
กระท้อน(ภาคกลาง),เตียน,ล่อน,สะท้อน(ภาคใต้),มะต้อง(ภาคเหนือ,อุดรธานี),มะติ๋น(ภาคเหนือ), สะตียา,สะตู(มลายู นราธิวาส),สะโต(มลายู ปัตตานี)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[853] กระท้อน ( Sandoricum koetjape) MELIACEAE กระท้อน(ภาคกลาง),เตียน,ล่อน,สะท้อน(ภาคใต้),มะต้อง(ภาคเหนือ,อุดรธานี),มะติ๋น(ภาคเหนือ), สะตียา,สะตู(มลายู นราธิวาส),สะโต(มลายู ปัตตานี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบทั่วประเทศ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตรขึ้นไป โตวัดโดยรอบประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ เซนติเมตร ลำต้นเปลาตรง แผ่กิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ทรงรูปไข่ ปลายกิ่งอ่อนจะลู่ลง ลำต้นมักเป็นพูพอน เปลือกสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ดโตๆ และมักเป็นปุ่มปม ใบเป็นช่อ มีใบย่อยช่อละ ๓ ใบ ใบแก่ออกสีแดงอิฐ ดอกเล็ก สีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลม โตและแป้น มีขนนุ่มสีเหลืองนวลๆ อุ้มน้ำ ขนาดโต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖-๙ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงเรื่อๆปนเทา เสี้ยนไม่ตรง เนื้อค่อนข้างหยาบ แข็งพอปากลาง ใช้ในร่มทนทานพอประมาณ เลื่อยไสกบ ตบแต่งได้ง่าย ขัดและชักเงาได้ดี ผึ่งแห้งง่ายแต่มีส่วนหดตัวมาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๔ |
สกายสมบัติ
- |
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๘๔ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๗๘๓ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๗๔,๙๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๑.๓๔ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๗ ปี เฉลี่ยประมาณ ๓.๕ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น เพดาน ฝา ประตู หน้าต่าง ไม่สู้ทนทาน ทำเรือพาย แจว พาย กรรเชียง ทำหูก หีบศพ ลังใส่ของ และเครื่องเรือน
ราก เป็นยารักษาบิด ถ้าสุมเป็นถ่านรับประทานเป็นยาดับพิษร้อนใน ถอนพิษไข้รากสาด ปรุงเป็นยามหานิล
ผล สุกใช้รับประทานเป็นอาหาร
|
|
|