All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[785]
 
รัง
Shorea siamensis
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
รัง (Shorea siamensis Miq. ) T [785]
DIPTEROCARPACEAE
Burmese Sal , Ingyin
 
  รัง(ภาคกลาง),เปา,เปาดอกแดง(ภาคเหนือ),เรียง,เรียงพนม(เขมร สุรินทร์),ลักป้าว(ละว้า เชียงใหม่), แลบอง,เหล้ท้อ,เหล่บอง(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ฮัง(ตะวันออกเฉียงเหนือ) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: รัง(Shorea siamensis) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: รัง(Shorea siamensis) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[785]
รัง ( Shorea siamensis)
DIPTEROCARPACEAE
รัง(ภาคกลาง),เปา,เปาดอกแดง(ภาคเหนือ),เรียง,เรียงพนม(เขมร สุรินทร์),ลักป้าว(ละว้า เชียงใหม่), แลบอง,เหล้ท้อ,เหล่บอง(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ฮัง(ตะวันออกเฉียงเหนือ)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ใหญ่ๆในป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วไป ปะปนอยู่กับไม้เต็ง บนพื้นที่ที่เป็นดินลูกรัง หิน กรวด ทราย เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๕๐๐-๑,๐๐๐ เมตร ทางภาคใต้มีอยู่บ้างตามเขาหินปูน
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๒๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก สับดูเป็นสีน้ำตาลอมเหลือง มักตกชันสีเหลืองขุ่นๆ กระพี้สีน้ำตาลอ่อนจางๆ ใบรูปขอบขนาน ขนาด ๗-๑๒ x ๑๐-๒๐ ซม. ปลายมนกว้าง หรือหยักเว้าเข้าตื้นๆ โคนหยักเว้าเข้าเป็นรูปหัวใจ ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อเหนือรอยแผลใบและปลายกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลรูปไข่ขนาด ๑.๐ x ๑.๕ ซม. อยู่ในกระพุ้งของโคนปีก ปลายผลหยักเป็นติ่งแหลมๆ ปีกไม่เชื่อมติดกับผล
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลอมเหลือง เสี้ยนสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็ง หนัก แข็งแรง และทนทานมาก เลื่อย ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยากเมื่อแห้งแล้ว
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐ (๑๐%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๕๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๓๕๒ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๔๓,๑๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๔๒ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๑-๑๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๗.๓ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา หมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และอื่นๆ ทำรถ เรือ เครื่องมือกสิกรรม ครก สาก กระเดื่อง ส่วนต่างๆของเกวียน ทำหูก ด้ามหอก ทำเสาพื้นในเหมือง กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ และกังหันน้ำ เสาเต็นท์ โดยเหตุที่เนื้อไม้ชนิดนี้แข็งและทนทานมาก จึงใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความคงทนถาวรได้ดีทุกอย่าง ลักษณะใกล้เคียงกับไม้เต็งมาก จึงใช้ร่วมกันได้ดี และนิยมเรียกไม้ทั้งสองชนิดนี้รวมกันว่า “ไม้เต็งรัง” ไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และยาเรือ