All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[782]
 
สยาเหลือง
Shorea parvifolia
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สยาเหลือง (Shorea parvifolia Dyer ) T [782]
DIPTEROCARPACEAE
Llight red meranti , Seraya.
 
  สยาเหลือง(นราธิวาส),กาลอ(ยะลา),มารันตี,สะระยาตะมาฆอ,สะรังปูราย(มลายู ยะลา) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สยาเหลือง(Shorea parvifolia) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สยาเหลือง(Shorea parvifolia) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[782]
สยาเหลือง ( Shorea parvifolia)
DIPTEROCARPACEAE
สยาเหลือง(นราธิวาส),กาลอ(ยะลา),มารันตี,สะระยาตะมาฆอ,สะรังปูราย(มลายู ยะลา)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆ อยู่ทั่วไป ตามป่าดงดิบทางภาคใต้ของประเทศ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๒๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูพอนหนาต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ หรือรูปเจดีย์ต่ำๆ สีเขียวอ่อน เป็นมัน เปลือกหนา สีเทา หรือสีน้ำตาลปนแดงอ่อน มักแตกเป็นร่องถี่ๆ ตามยาวลำต้น และมักมีชันสีเทาปนน้ำตาล หรือน้ำตาลอ่อนแห้งกรังติดอยู่ เปลือกในสีน้ำตาลแดง หรือแดงอ่อน กระพี้สีเหลืองอ่อน กิ่งอ่อนมีขนสีเทาเป็นกระจุกๆ ห่างๆกัน กิ่งแห้งสีดำ ใบมน รูปไข่ และรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาด ๒-๔ x ๖-๑๐ ซม. โคนมน หรือหยักเว้าเข้าเล็กน้อย ปลายสอบเรียว หรือหยักเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีขนเป็นกระจุก ประปราย จะหลุดร่วงไปเมื่อแก่ ใบแห้งสีเทาด้านๆ หรือสีน้ำตาลแดง ดอกเล็ก สีขาว หรือเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลกลมเล็ก ขนาด ๕-๑๐ มม. ปีกสีแดงเข้ม ยาว ๓ ปีก สั้น ๒ ปีก โคนปีกของผลแก่ จะแข็งมาก และหุ้มมิดตอนล่างของผล
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองอ่อน หรือชมพูปนเหลืองอ่อน หรือน้ำตาลอมชมพู เสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อหยาบ อ่อน เหนียว ใช้ในร่มทนทาน เลื่อย ไสกบ ชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๑ (๑๔%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๘๐ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๓๑๘ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๒๖,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๕.๑๔ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างในร่ม เช่น พื้น และฝา เครื่องเรือน ไม้อัด ลักษณะดีกว่าสยาขาว แต่ด้อยกว่าสยาแดง ชัน ใช้ยาแนวเรือ และผสมน้ำมันทาไม้