All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:พรรณไม้ LFG LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[781]
 
เต็ง
Shorea obtusa
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
เต็ง (Shorea obtusa Wall. ) T [781]
DIPTEROCARPACEAE
Burma Sal , Siamese Sal, Thitya
 
  เต็ง(ภาคกลาง),เคาะเจื้อ,เจื้อ(ละว้า เชียงใหม่),จิก(ตะวันออกเฉียงเหนือ),ชันตก(ตราด),เต็งขาว(ขอนแก่น), เน่าใน(แม่ฮ่องสอน),ประจั๊ด(เขมร บุรีรัมย์),ประเจิ๊ก(เขมร สุรินทร์),พะเจ๊ก(เขมร พะตะบอง), ล่าไน้(กระเหรี่ยง),แลเน่ย(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),เหล่ไน้ กระเห LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: เต็ง(Shorea obtusa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: เต็ง(Shorea obtusa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[781]
เต็ง ( Shorea obtusa)
DIPTEROCARPACEAE
เต็ง(ภาคกลาง),เคาะเจื้อ,เจื้อ(ละว้า เชียงใหม่),จิก(ตะวันออกเฉียงเหนือ),ชันตก(ตราด),เต็งขาว(ขอนแก่น), เน่าใน(แม่ฮ่องสอน),ประจั๊ด(เขมร บุรีรัมย์),ประเจิ๊ก(เขมร สุรินทร์),พะเจ๊ก(เขมร พะตะบอง), ล่าไน้(กระเหรี่ยง),แลเน่ย(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),เหล่ไน้ กระเห
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ใหญ่ๆ อยู่ตามป่าแดง หรือป่าเบญจพรรณแล้ง ที่เป็นดินลูกรัง และเขาหินทราย ปะปนอยู่กับพวกไม้รัง เหียง พลวง ทั่วไป เว้นแต่ทางภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้างๆ ลำต้น เปลา ตรง หรือคดงอบ้าง เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แต่เป็นร่องและเป็นสะเก็ดหนา มักตกชันสีเหลืองขุ่น กระพี้สีน้ำตาลอ่อน ใบรูปขอบขนาน หรือรูปไข่กลับ ขนาด ๕-๗ x ๑๐-๑๖ ซม. โคนและปลายมน เนื้อหนา ใบอ่อนมีขนประปราย ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีขนนุ่ม กลีบดอกและกลีบรองดอกมี ๕ กลีบ ก้านดอกสั้นมาก ผลรูปไข่ ปลายแหลม มีปีกยาว ๓ ปี
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อแรกตัดสีน้ำตาลอ่อน ทิ้งไว้นานเข้ากลายเป็นสีน้ำตาลแก่แกมแดง เสี้ยนสน เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็ง เหนียว แข็งแรง และทนทานมาก แห้งแล้วเลื่อย ไสกบ ตบแต่งยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๑ (๑๐%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๙๖๔ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๗๓๒ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๗๕,๑๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๖.๑๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๑-๑๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๗.๗ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ไม่สามารถอาบน้ำยาด้วยวิธีการตามปกติได้ (ชั้นที่ ๖)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ เสา ขื่อ แวง กระดานพื้น ฝา เครื่องมือกสิกรรม ทำเรือใบ โครงเรือเดินทะเล ครก สาก กระเดื่อง ด้ามเครื่องมือ ทำหูก ด้ามหอก เสาค้ำร่างแร่ เสาและหลักเต็นท์ ตลอดจนการก่อสร้างต่างๆ ที่ต้องการความแข็งแรงทนทาน ไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol ใช้เป็นยา สมานแผล ห้ามโลหิต เปลือก ใช้ฝนกับน้ำปูนใส เป็นยาสมานแผลเรื้อรังและแผลพุพอง ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ และยาแนวเรือ