|
|
|
|
|
เคี่ยมคะนอง
(Shorea henryana Pierre ) T [777]
DIPTEROCARPACEAE Red Meranti
|
|
|
เคี่ยมคะนอง,เคี่ยม(นครราชสีมา,ปราจีนบุรี),เคียนทราย(ประจวบคีรีขันธ์,ภาคใต้),ชันรุ่ง,สยา,สายา(สงขลา), เชื่อม(สระบุรี,นครราชสีมา),พนอง(ชลบุรี)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[777] เคี่ยมคะนอง ( Shorea henryana) DIPTEROCARPACEAE เคี่ยมคะนอง,เคี่ยม(นครราชสีมา,ปราจีนบุรี),เคียนทราย(ประจวบคีรีขันธ์,ภาคใต้),ชันรุ่ง,สยา,สายา(สงขลา), เชื่อม(สระบุรี,นครราชสีมา),พนอง(ชลบุรี)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าดิบแล้งทางภาคตะวันออก ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐-๕๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงราว ๒๐-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูหนาๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง แบบรูปร่ม ออกสีน้ำตาลอ่อน กิ่งอ่อนมีขนยาวสีน้ำตาลแดงอมขมพู เปลือกสีน้ำตาลแก่ หรือน้ำตาลปนเทาอ่อน แตกเป็นร่อง เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ตามยาวลำต้น และมีน้ำยางใสๆ สีเหลืองซึมออกมา เปลือกในสีส้มหรือเหลืองอ่อน หูใบรูปขอบขนานแกมรูปหอก โคนมน ปลายสอบเรียว ใบอ่อนมีขนนนุ่มทางด้านท้องใบ ใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง บางทีออกสีชมพูอื่นๆ ก้านใบมีขนนุ่มหรือเกือบ ดอกสีขาว โตเต็มที่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. ผลเล็ก ปลายเป็นติ่งเรียวแหลม มีปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก ก้านผลสั้นมาก |
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลแกมเหลือง เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดและชักเงาได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๐ (๑๕%) |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๘๓ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๘๓ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๔๓,๔๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๔.๐๒ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ประมาณไม่น้อยกว่า ๖ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำแบบพิมพ์หล่อคอนกรีต ลังใส่ของ ต่อเรือ ทำแจว พาย และใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ทำตัวถังเกวียน มีลักษณะคล้ายกระบาก ควรใช้แทนกันได้ และใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย
เปลือก ต้มชะล้างบาดแผลเรื้อรัง ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท
ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร
ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล
|
|
|