All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[769]
 
สยาเหลือง
Shorea curtisii
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สยาเหลือง (Shorea curtisii Dyer ex King ) T [769]
DIPTEROCARPACEAE
Meranti , Seraya
 
  สยาเหลือง(ยะลา ปัตตานี),สยาแดง,สะระยาแดง(ยะลา นราธิวาส),สะระยาเมเราะ(มลายู ภาคใต้) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สยาเหลือง(Shorea curtisii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สยาเหลือง(Shorea curtisii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[769]
สยาเหลือง ( Shorea curtisii)
DIPTEROCARPACEAE
สยาเหลือง(ยะลา ปัตตานี),สยาแดง,สะระยาแดง(ยะลา นราธิวาส),สะระยาเมเราะ(มลายู ภาคใต้)
ท้องที่ที่ขึ้น
มีขึ้นอยู่มากตามป่าดงดิบทางภาคใต้ ตอนใต้จังหวัดปัตตานีลงไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๖๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูโตๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ หรือเจดีย์ต่ำ สีเขียวอ่อนเป็นมัน เปลือกสีน้ำตาลปนเทา แตกเป็นร่องตามยาวลำต้น หรือเป็นสะเก็ดห้อยย้อยลง ไม่เป็นระเบียบ ตามรอยแตกแบะสะเก็ดของเปลือกที่ลอกใหม่ๆ เป็นสีเหลือง มักมียางสีเหลืองคล้ำติดอยู่บ้าง เปลือกที่ถัดจากสะเก็ดนอกเข้าไป สีเหลืองปนน้ำตาล เปลือกในสุดสีชมพู หรือน้ำตาลแดง ใบรูปหอกแกมรูปดาบ ขนาด ๒-๔ x ๗-๑๐ ซม. โคนมนหรือเบี้ยว ปลายอ่อน ดอกออกเป็นช่อ สีขาว หรือเหลืองอ่อนๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ผลรูปไข่ขนาด ๗ x ๑๓ มม. มีขนสีเทา นุ่ม และปีกยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอ่อน ถึงน้ำตาลแกมแดง หรือน้ำตาลอมชมพู เสี้ยนสนเล็กน้อย เนื้อหยาบ อ่อน ค่อนข้างเหนียว ใช้ในร่มได้ทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๘
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๔.๒๘ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๙.๕๑ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
กลสมบัติ
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๓.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑.๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างภายในร่ม เช่น ทำกระดานพื้น ฝา รอด ตง ประตู หน้าต่าง และเพดาน ทำเครื่องเรือน หีบใส่ของ ไม้บาง ไม้อัด ลักษณะดีกว่าไม้สยาขาว ชัน ใช้ยาแนวเรือ และผสมน้ำมันทาไม้