All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[711]
 
ลำพูป่า
Duabanga grandiflora
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ลำพูป่า (Duabanga grandiflora Walp. )  [711]
SONNERATIACEAE
 
  กระดังงาป่า (กาญจนบุรี ศรีราชา) กาปลอง (ชองจันทบุรี) กาลา (เชียงใหม่) โก (กะเหรี่ยงกำแพงเพชร) ขาเขียด หงอนไก่ (ชุมพร) คอเหนียง ตุ้มลาง อ้า ตุ้มอ้า เด๋น ลาง ลูกลาง (พายัพ) ตะกูกา (จันทบุรี) ตะกาย โปง ลำพูป่า (ใต้) เต็น (หล่มศักดิ์ เพชรบูรณ์) บะกูแม (นราธิว LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ลำพูป่า(Duabanga grandiflora) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ลำพูป่า(Duabanga grandiflora) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[711]
ลำพูป่า ( Duabanga grandiflora)
SONNERATIACEAE
กระดังงาป่า (กาญจนบุรี ศรีราชา) กาปลอง (ชองจันทบุรี) กาลา (เชียงใหม่) โก (กะเหรี่ยงกำแพงเพชร) ขาเขียด หงอนไก่ (ชุมพร) คอเหนียง ตุ้มลาง อ้า ตุ้มอ้า เด๋น ลาง ลูกลาง (พายัพ) ตะกูกา (จันทบุรี) ตะกาย โปง ลำพูป่า (ใต้) เต็น (หล่มศักดิ์ เพชรบูรณ์) บะกูแม (นราธิว
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นห่างๆกัน อยู่ทั่วไปในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดงดิบทางภาคเหนือ และภาคใต้ ชอบขึ้นอยู่ตามริมลำห้วย และพบขึ้นอยู่ได้ในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ ๓๐๐-๑,๒๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๕-๓๕ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง กิ่งใหญ่ที่แตกออกจากลำต้น จะตั้งฉากกับลำต้น และปลายกิ่งจะห้อยลงสู่พื้นดิน เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล ตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ ลำต้นที่มีอายุมากๆ จะมีรอยแตกระแหง ไปตามยาวและตามขวางของลำต้น เปลือกในสีน้ำตาลคล้ำ กระพี้สีน้ำตาลปนเหลือง ใบรูปขอบขนาน ขนาด ๗-๑๑ x ๑๘-๓๐ ซม. โคนเว้าลึกแบบรูปหัวใจ ส่วนที่โค้งเว้ามักทาบอยู่กับกิ่ง ปลายเรียว ตรงปลายสุดเป็นติ่งสั้นๆ เนื้อค่อนข้างหนา เกลี้ยง หลังใบสีเขียว ท้องใบสีนวล หรือเป็นคราบขาวๆ ดอกสีขาว ออกเป็นช่อใหญ่ๆตามปลายกิ่ง กลีบรองกลีบดอกหนาเป็นแผ่นหนัง กลีบดอกใหญ่ รูปช้อนป้อมๆ บานเต็มที่โตเส้นผ่านศูนย์กลางถึง ๑๐ ซม. กลีบบาง ขอบเป็นคลื่น หลุดร่วงง่าย ผลแป้น รูปตลับ เส้นผ่านศูนย์กลาง ๕ ซม. ผลแก่จะแตกอ้าออก ภายในมีเมล็ดสีดำ ๖-๗ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทา มักมีเส้นผ่านสีเหลือง หรือน้ำตาล เสี้ยนตรง หรือสน เนื้อหยาบ แข็งแรงปานกลาง ผึ่งง่าย และเลื่อย ผ่า ไสกบง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๗
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๘๓ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๗๘ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๔
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๒๔ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๗๔๙ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๗๙,๙๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๐.๙๘ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยตั้งแต่ ๐.๕-๘.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔.๗ ปี ใช้ในน้ำทนทานดี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหีบใส่ของ ทำเรือ หีบศพ เครื่องประกอบการก่อสร้างอย่างถูกๆ ทำไม้บางไม้อัด และส่วนประกอบของร่มกระดาษ