All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:พรรณไม้ LFG LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[683]
 
ยมหิน
Chukrasia velutina
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยมหิน (Chukrasia velutina Wight & Arn. ) T [683]
MELIACEAE
Almond-wood , Chickrassy , Chittagong-wood
 
  โค้โย้ง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) ช้ากะเดา (ใต้) ฝักดาบ (จันทบุรี) มะเฟืองช้าง สะดาช้าง สะเดาหิน (ภาคกลาง) ยมขาว (ภาคเหนือ) เสียดกา (กบินทร์บุรี ปนาจีนบุรี) วาราโย่ง (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ริ้วบ้าง รี (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เสียดค่าง (สุราษฎร์ธานี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยมหิน(Chukrasia velutina) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยมหิน(Chukrasia velutina) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[683]
ยมหิน ( Chukrasia velutina)
MELIACEAE
โค้โย้ง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) ช้ากะเดา (ใต้) ฝักดาบ (จันทบุรี) มะเฟืองช้าง สะดาช้าง สะเดาหิน (ภาคกลาง) ยมขาว (ภาคเหนือ) เสียดกา (กบินทร์บุรี ปนาจีนบุรี) วาราโย่ง (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ริ้วบ้าง รี (กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน) เสียดค่าง (สุราษฎร์ธานี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นในป่าเบญจพรรณแล้ง และชื้นทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูงชะลูด ผลัดใบ แต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่ม รูปกรวยต่ำๆ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทา หรือเทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวลำต้น และมีรูระบายอากาศทั่วไป ใบเป็นช่อ ใบย่อยออกเรียงสลับกัน หรือเยื้องกันเล็กน้อย รูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบเกลี้ยง ดอกเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ผลเล็ก กลม รีๆ แข็ง สีน้ำตาลอมม่วง
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลอมเหลือง เป็นมันเลื่อม เสี้ยนสน เนื้อละเอียด พอประมาณ มีริ้วสีแก่เกลี้ยง แข็งพอประมาณ เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๐
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๔๔ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๑๑ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๙,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๗ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา ขื่อ รอด ตง กระดาน ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ด้ามเครื่องมือต่างๆ และไม้อัด ลักษณะคล้ายไม้สีเสียดเปลือก แต่มีสีผิดกันบ้าง ควรใช้แทนกันได้