|
|
|
|
|
กะพง
(Tetrameles nudiflora R. Br. ) T [4735]
TETRAMELACEAE Baing
|
|
|
กะพง,กะปุง(ภาคกลาง,ภาคใต้),ก้านไม้ขีด(ลำปาง),ขี้พร้า(ยะลา),ขึง,ปึง,บึง(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),งุ้น(ภาคเหนือ), เปอ,เปอถู่(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),โป่งสาว(ปัตตานี),สมพง,สมพุง,สมิงคำราม(ปราจีนบุรี), สะพุง(ตะวันออกเฉียงเหนือ),อีพุง(ขอนแก่น)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[4735] กะพง ( Tetrameles nudiflora) TETRAMELACEAE กะพง,กะปุง(ภาคกลาง,ภาคใต้),ก้านไม้ขีด(ลำปาง),ขี้พร้า(ยะลา),ขึง,ปึง,บึง(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),งุ้น(ภาคเหนือ), เปอ,เปอถู่(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),โป่งสาว(ปัตตานี),สมพง,สมพุง,สมิงคำราม(ปราจีนบุรี), สะพุง(ตะวันออกเฉียงเหนือ),อีพุง(ขอนแก่น)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดิบ ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่มาก สูงประมาณ ๒๐-๔๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูพอนขนาดใหญ่ อาจสูงราว ๒ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกสีเทาอมชมพู เรียบเป็นมัน หนามาก เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู ไม่มีแก่น กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบปรากฏชัด ใบป้อม รูปหัวใจ หรือรูปห้าเหลี่ยมกลายๆ ขนาด ๙-๑๐ x ๙-๑๒ ซม. โคนกว้างและหยักเว้า ปลายโค้ง ปลายสุดหยักเป็นติ่งแหลม บางทีส่วนปลายจะเป็น ๓ แฉก ขอบหยักถี่ๆ เนื้อค่อนข้างบาง หลังใบมีขนสาก หลังใบแก่เกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีขนนุ่ม ดอกสีเขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีแขนงมาก ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อใหญ่ตามปลายกิ่ง ช่อดอกมีแขนงมาก ดอกเพศเมียออกเป็นช่อยาวๆตามปลายกิ่ง ห้อยย้อยลงไม่แตกแขนง ช่อดอกยาว ๑๕-๓๐ ซม. ผลเล็ก ผิวแข็ง เมื่อแก่จัดตอนปลายจะแตกแยกออกจากกัน |
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาว ถูกอากาศนานๆจะออกเหลือง ไม่มีแก่น เสี้ยนตรง เนื้ออ่อน ค่อนข้างหยาบ เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดีพอควร |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๓๔ |
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๖๔
ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๘๘
ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๔
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๐๔ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๕๐๙ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๖๒,๓๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๐.๙๗ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๑.๗๐ น้ำเย็นร้อยละ ๒.๑๗ น้ำร้อนร้อยละ ๓.๘๗ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๐.๑๓ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๗๕ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๑.๗๗ ลิกนินร้อยละ ๓๘.๒๖ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๔.๗๐ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๖.๒๕ |
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๘-๔.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑.๙ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำแบบหล่อคอนกรีต เรือขุด หีบใส่ของ ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน ไม้บาง ไม้อัด เยื่อกระดาษ หีบศพ เครื่องเรือน และของเด็กเล่น ทำพื้นรองเสาค้ำ
|
|
|