All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[4728]
 
ขี้อ้าย
Terminalia nigrovenulosa
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ขี้อ้าย (Terminalia nigrovenulosa Pierre ex Laness. ) T [4728]
COMBRETACEAE
 
  ขี้อ้าย,หานกราย(ราชบุรี),กำจาย(เชียงใหม่),กำจำ(ภาคใต้),คำเจ้า,ปู่เจ้า,เจ้าหามก๋าย,พระเจ้าหอมก๋าย,สลิง หามก๋าย(ภาคเหนือ),ตานแดง(ประจวบคีรีขันธ์,สุราษฎร์ธานี,สงขลา),แนอาม(ชอง จันทบุรี), เบ็น(ประจวบคีรีขันธ์,สุโขทัย),ประดู่ขาว(ชุมพร),แฟบ(ประจวบคีรีขันธ์), LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ขี้อ้าย(Terminalia nigrovenulosa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ขี้อ้าย(Terminalia nigrovenulosa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[4728]
ขี้อ้าย ( Terminalia nigrovenulosa)
COMBRETACEAE
ขี้อ้าย,หานกราย(ราชบุรี),กำจาย(เชียงใหม่),กำจำ(ภาคใต้),คำเจ้า,ปู่เจ้า,เจ้าหามก๋าย,พระเจ้าหอมก๋าย,สลิง หามก๋าย(ภาคเหนือ),ตานแดง(ประจวบคีรีขันธ์,สุราษฎร์ธานี,สงขลา),แนอาม(ชอง จันทบุรี), เบ็น(ประจวบคีรีขันธ์,สุโขทัย),ประดู่ขาว(ชุมพร),แฟบ(ประจวบคีรีขันธ์),
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๓-๒๕ เมตร ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกระบอก เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาล แตกเป็นร่องเป็นสะเก็ดเล็กๆ เปลือกในสีแดงอมเหลือง หรือสีเหลืองอ่อน มีลักษณะเป็นเส้นหยาบคล้ายกาบมะพร้าว ทิ้งไว้นานๆจะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีอิฐ ลำต้นเปลา ตรง โคนอาจมีพูพอนเล็กน้อย ใบมน รูปไข่ หรือรูปบรรทัด ขนาด ๓-๖ x ๖-๑๐ ซม. ปลายยาวแหลม โคนมนหรือสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม มีต่อมคู่อยู่ที่ขอบใบเยื้องไปทางโคน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลอ่อนหนาแน่น เมื่อแก่จะหลุดร่วงไป ทำให้ใบเกลี้ยง ดอกสีขาวอมเหลือง ออกบนช่อที่มีช่อแขนง ช่อดอกอ่อนมีขนสีน้ำตาลหนาแน่น ดอกเป็นดอกสมบูรณ์ ขนาดเล็กมาก บานเต็มที่กว้างเพียง ๑.๓-๑.๕ มม. ผลเป็นพวกผลแห้งแบบ nut รูปบรรทัด มีครีบ ๓ ครีบ สีน้ำตาลอ่อนแกมเหลือง เกลี้ยง แต่ละครีบทำมุมเกือบเท่ากัน ขนาดของผลรวมทั่งครีบ ยาว ๑.๕-๒.๕ ซม. กว้าง ๑.๐-๑.๕ ซม.
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทาแกมเหลือง มักมีริ้วสีแก่กว่าสีพื้น เสี้ยนค่อนข้างสน เนื้อค่อนข้างละเอียด แข็ง เหนียว ทนในที่ร่ม เลื่อยผ่า ตบแต่งค่อนข้างยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๖
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๕.๐๖ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๕.๑๖ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๙
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๕๒ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๒๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๔๓,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๕.๑๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๗-๗.๗ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๑ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำเสา ทำเครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ ต่อเรือ ทำแจว พาย กรรเชียง ฯลฯ เปลือก ใช้เป็นยารับประทานแก้ท้องร่วง แก้บิด ลงแดง ใช้น้ำต้มห้ามเลือด รักษาบาดแผล เปลือกสดหรือแห้งใช้เคี้ยวกับหมาก และให้น้ำฝาดชนิด Catechol