All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[4703]
 
สัก
Tectona grandis
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สัก (Tectona grandis  ) T [4703]
LABIATAE
Teak.
 
  สัก(ทั่วไป),เคาะเยียโอ(ลั๊วะ เชียงใหม่),ปายี้(กระเหรียง กาญจนบุรี),ปีฮี,ปีฮือ,เป้อยี(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เส่บายี้(กระเหรี่ยง กำแพงเพชร) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สัก(Tectona grandis) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สัก(Tectona grandis) LFG
 
 

การใช้ประโยชน์
 
   
[4703]
สัก ( Tectona grandis)
LABIATAE
สัก(ทั่วไป),เคาะเยียโอ(ลั๊วะ เชียงใหม่),ปายี้(กระเหรียง กาญจนบุรี),ปีฮี,ปีฮือ,เป้อยี(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), เส่บายี้(กระเหรี่ยง กำแพงเพชร)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่อยู่ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และบางส่วนของภาคกลาง และภาคตะวันตก (เคยมีอยู่บ้างทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงตั้งแต่ ๒๐ เมตรขึ้นไป ผลัดใบในฤดูร้อน ลำต้นเปลา ตรง สูงชะลูด โคนต้นเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลม ค่อนข้างทึบ (เมื่อไม่ผลัดใบ) เปลือกสีน้ำตาลปนเทา เรียบหรือแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกในสีเขียวอ่อนๆ ถึงสีน้ำตาลอ่อน ใบเดี่ยว ใหญ่มาก ปลายแหลม โคนมน ยาวประมาณ ๒๐-๓๐ ซม. กว้างเกือบเท่าความยาว ใบต้นอ่อนจะใหญ่กว่านี้มาก เนื้อใบสากคาย ท้องใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีอ่อนกว่า มีต่อมเล็กๆสีแดง ขยี้ใบสดจะมีสีแดงเหมือนเลือด และเปลี่ยนเป็นสีคล้ำเมื่อถูกอากาศ ดอกขนาดเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อใหญ่ กระจายตามปลายกิ่ง ผลแห้ง กลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ ซม. เปลือกแข็ง ภายในมีเมล็ด ๑-๓ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองทอง นานเข้ากลายเป็นสีน้ำตาล หรือน้ำตาลแก่ แตกต่างจากกระพี้เห็นได้ชัด มีกลิ่นเหมือนหนังฟอกเก่าๆ และมีน้ำมันในตัว มักมีเส้นสีแก่แทรก เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ และมักไม่สม่ำเสมอ แข็ง เด้ง พอประมาณ แข็งแรง ทนทานที่สุด ปลวก มอด ไม่ชอบทำลาย เพราะมีสารพวกเตคโตควิโนน เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย และดีมาก เป็นไม่ที่ผึ่งให้แห้งได้ง่าย และอยู่ตัวดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๓
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๙๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๓๔ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๘,๘๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๙๕ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๑๒.๘๐ น้ำเย็นร้อยละ ๑.๑๙ น้ำร้อนร้อยละ ๓.๔๘ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ๑๘.๑๑ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๔๕ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๔.๙๘ ลิกนินร้อยละ ๓๑.๙๕ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๒.๒๔ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๖๕.๑๘
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๑-๑๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๖ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เรือ รถ เสา เครื่องเรือน เครื่องมือกสิกรรม เกวียน เครื่องแกะสลัก ถัง และการก่อสร้างต่างๆ ที่ต้องการไม้ที่ทำง่าย ทนทาน และสวยงาม ใช้ทำพื้น ฝา กรอบประตูหน้าต่าง และส่วนประกอบต่างๆของอาคารบ้านเรือน ไม้บุผนังที่สวยงาม แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ไถ คราด ทำซี่ล้อ ตัวถังเกวียน-รถ ไม้คาน หูก สันแปรง ทำรางน้ำ พานท้ายและรางปืน หีบใส่ของ และหีบศพที่ดี ทำรางระนาด กลอง โทน รำมะนา ขาฆ้องวง เครื่องเล่นสำหรับเด็ก ทำไม้บางหน้าไม้อัด และกระเบื้องไม้ ใช้เป็นยาแก้บวม แก้ไข้ เนื้อไม้และใบ แก้เบาหวาน ปัสสาวะพิการ ขับลมในลำไส้ แก้ไตพิการ เปลือก ใช้เข้ายาคุมธาตุ ใบอ่อน ให้สีแดง ใช้ย้อมกระดาษย้อมผ้า