All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[4553]
 
มะกอก
Spondias pinnata
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
มะกอก (Spondias pinnata Kurz ) T [4553]
ANACARDIACEAE
Hog Plum
 
  มะกอก(ทั่วไป),กราไพ้ย,ไพ้ย(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),กอกกุก,กูก(เชียงราย),กอกเขา(นครศรีธรรมราช), กอกหมอง(เงี้ยว ภาคเหนือ),ไพแซ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: มะกอก(Spondias pinnata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: มะกอก(Spondias pinnata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[4553]
มะกอก ( Spondias pinnata)
ANACARDIACEAE
มะกอก(ทั่วไป),กราไพ้ย,ไพ้ย(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),กอกกุก,กูก(เชียงราย),กอกเขา(นครศรีธรรมราช), กอกหมอง(เงี้ยว ภาคเหนือ),ไพแซ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้ง ที่มีการระบายน้ำดี และสูงจากระดับน้ำทะเล ๕๐-๕๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๔๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง โคนเป็นพูพอนต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่งๆ ใบอ่อนสีน้ำตาลอมแดงเรื่อๆ ก้านและกิ่งอ่อนเกลี้ยง เปลือกสีเทา เรียบ เปลือกชั้นในมีทางสีชมพูสลับขาว กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ และมีต่อมระบายอากาศมาก ใบเป็นช่อชั้นเดียว แต่ละช่อมีใบย่อยเป็นคู่ๆ อยู่ตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ๔-๖ คู่ รูปขอบขนานหรือมน ขนาด ๓-๔ x ๗-๑๒ ซม. โคนเบี้ยว ปลายหยักคอดเป็นติ่งยาวๆ เนื้อค่อนข้างหนา เนียน เกลี้ยง ขอบเรียบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ สีขาว ออกเป็นช่อ ตามง่ามใบหรือเหนือรอยแผลใบตอนปลายๆกิ่ง กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลรูปไข่ ขนาด ๒.๕-๓.๕ x ๓.๕-๔.๕ ซม. เนื้อหุ้มเมล็ดมีรสเปรี้ยว เมล็ดใหญ่ แข็งมาก ผิวเป็นเสี้ยน ขรุขระ
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาว หรือเทาอ่อน ไม่มีแก่น เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ อ่อน เลื่อย ผ่า ตบแต่ง ง่ายที่สุด ถ้าไม่ระวังในเวลาผึ่ง มักขึ้นราดำ ควรรีบผึ่งในลักษณะที่จะแห้งเร็วภายในร่ม
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๗
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๓.๙๓ น้ำเย็นร้อยละ ๒.๔๓ น้ำร้อนร้อยละ ๓.๗๒ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๙.๒๑ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๙๒ เพ็นโตซานร้อยละ ๒๒.๒๑ ลิกนินร้อยละ ๑๘.๗๐ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๖.๖๕ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๙.๙๓
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๑.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ๐.๙ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหีบใส่ของ ไม้ขีดไฟ ไม้จิ้มฟัน ไม้บาง ไม้อัด และเยื่อกระดาษ เปลือก รักษาโรคบิด เปลือก ใบ ผล เนื้อในผล มีรสเปรี้ยว ฝาด หวานชุ่มคอ แก้ธาตุพิการ เพราะน้ำดีไม่ปกติ และแก้บิด ใบ คั้นเอาน้ำหยอดแก้ปวดหู ผล บำรุงธาตุปูน แก้เลือดออกตามไรฟัน รักษาโรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร และใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เมล็ด ใช้เผาไฟชงรับประทานแก้ร้อนใน แก้หอบสะอึก