All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[442]
 
ตะเคียนหนู
Anogeissus acuminata
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ตะเคียนหนู (Anogeissus acuminata Wall. ) T [442]
COMBRETACEAE
Yon , Dhawa , Gum Ghati , Sumac
 
  var. lanceolata Clarke ตะเคียนหนู(กลาง); ขี้หมากเปียก, หมากเปียก(นครราชสีมา); เบน(พิจิตร, ประจวบคีรีขันธ์); เปอเยอ, สะเร้า, ส่าเราะ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); เหว, เหียว(เหนือ); แหว(ใต้); เอ็นมอญ(เลย); เอ LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ตะเคียนหนู(Anogeissus acuminata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ตะเคียนหนู(Anogeissus acuminata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[442]
ตะเคียนหนู ( Anogeissus acuminata)
COMBRETACEAE
var. lanceolata Clarke ตะเคียนหนู(กลาง); ขี้หมากเปียก, หมากเปียก(นครราชสีมา); เบน(พิจิตร, ประจวบคีรีขันธ์); เปอเยอ, สะเร้า, ส่าเราะ(กะเหรี่ยง-เชียงใหม่); เหว, เหียว(เหนือ); แหว(ใต้); เอ็นมอญ(เลย); เอ
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าไม้สัก ป่าเบญจพรรณ และตามริมน้ำทั่วไป เว้นแต่ทางภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๔๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง ปลายกิ่งก้านห้อยลู่ลงข้างล่าง เปลือกนอกสีดำคล้ำ ตกสะเก็ดเป็นแผ่นบางๆ เปลือกในสีแดง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว เรียงสลับกัน รูปทรงแคบคล้ายรูปใบหอก ขนาด ๑.๕-๒.๗ x ๔.๕-๗.๐ ซม. ปลายแหลม หรือยาวเรียว โคนสอบแคบ ขอบเรียบ หลังใบเรียบ เกลี้ยง ไม่มีขน ท้องใบปกคลุมด้วยขนยาว อ่อนนุ่มสีเทาอมเหลือง ดอกสีเหลือง หรืออเหลืองอ่อน ออกชิดกันแน่น เป็นกระจุก บนช่อกลมคล้ายลูกโลก อยู่บนก้านช่อเดี่ยวๆ ที่แตกออกมาจากง่ามใบ ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศทั้งหมด เมื่อดอกบานเต็มที่ช่อดอกจะมีขนาดโต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑.๕ ซม. ก้านช่อดอกยาวประมาณ ๑.๒- ๑.๙ ซม. ปกคลุมด้วยขนอ่อนนุ่มสีเทา ผลเป็นพวกผลแห้งขนาดเล็ก ส่วนกว้างมักไม่เกิน ๗ มม. มีปีก ๑ คู่
ลักษณะเนื้อไม้
สีเทาแกมน้ำตาล เสี้ยนเป็นคลื่น สน เนื้อค่อนข้างละเอียดแข็ง เหนียวมาก แข็งแรง และเด้ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๖ (๑๑%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๑๘๒ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๗๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๔,๕๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๖๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๕-๑๔.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๒ ปี ซุงของไม้ชนิดนี้ พวกแมลงชอบเจาะทำลาย ควรเก็บรักษาไว้ในน้ำ เพื่อป้องกันการเสียหายจากพวกแมลง
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำด้ามเครื่องมือ ตะลุมพุก ไม้คาน กระดาน เพลา และคานเกวียน ทำโครงเรือ เสากระโดงเรือ เสาโป๊ะ ในประเทศอินเดียและพม่านิยมใช้ไม้ชนิดนี้ทำด้ามเครื่องมือแทนไม้ Ash และไม้ Hickory ทางยา ใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม และกษัย ไม้ชนิดนี้เมื่อได้อาบน้ำยาโดยถูกต้องแล้ว สามารถใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ และอื่นๆได้ดี เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol นอกจากนี้ยังใช้ต้มกับเกลือ อมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และใช้ต้มกับน้ำชะล้างบาดแผลเรื้อรัง ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันทารักษาบาดแผล