All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าดิบเขาชื้น LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[4376]
 
มังตาน
Schima wallichii
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
มังตาน (Schima wallichii Korth. ) T [4376]
THEACEAE
 
  มังตาน,ฟังตาน,ฟันตัน(ภาคใต้),กรรโชก(ภาคตะวันออก),กาโซ้(ยะลา,นครพนม),คาย,ทะโล้,สารภีป่า(ภาคเหนือ), คายโซ่,จำปาดง,พระราม(เลย),ตื้อซือซะ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),บุนนาค(นครราชสีมา,ตราด), มือแดกาต๊ะ(มลายู ปัตตานี),หมูพี(เงี้ยว เชียงใหม่) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: มังตาน(Schima wallichii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: มังตาน(Schima wallichii) LFG
 
 

สกุลมังตาล
 
   
[4376]
มังตาน ( Schima wallichii)
THEACEAE
มังตาน,ฟังตาน,ฟันตัน(ภาคใต้),กรรโชก(ภาคตะวันออก),กาโซ้(ยะลา,นครพนม),คาย,ทะโล้,สารภีป่า(ภาคเหนือ), คายโซ่,จำปาดง,พระราม(เลย),ตื้อซือซะ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),บุนนาค(นครราชสีมา,ตราด), มือแดกาต๊ะ(มลายู ปัตตานี),หมูพี(เงี้ยว เชียงใหม่)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบชื้น และป่าเบญจพรรณเขาทั่วไป มีมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของประเทศ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นเปลา ตรง เปลือกนอกสีเทาปนน้ำตาลอ่อน ขรุขระ และมักแตกเป็นร่องลึก เปลือกในสีน้ำตาลอมแดง มีเสี้ยนละเอียดสีขาว เสี้ยนนี้เป็นพิษต่อผิวหนัง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปหอก ออกตามปลายกิ่ง เรียงสลับกัน และมักออกเป็นกระจุกๆตอนปลายๆกิ่ง โคนและปลายสอบเรียว ขนาด ๕-๖ x ๑๒-๑๖ ซม. กว้างที่สุดตอนกิ่งกลางใบ ขอบเรียบ หรือหยักตื้นๆ ตอนปลายใบ หลังใบเป็นมัน สีเขียวเข้ม ท้องใบและเส้นกลางใบมีขนประปราย ดอกสีขาว หรือขาวนวล มีกลิ่นหอม ออกกเดี่ยวๆ ตามง่ามใบ ผลกลม แข็ง (capsule) โตประมาณ ๒-๓ ซม. ตามผิวมีขนอ่อน ผลแก่สีน้ำตาลเข้ม เมื่อแก่จัดแตกออกตามรอยประสาน เป็น ๔-๕ เสี่ยง แต่ละเสี่ยงมี ๑-๒ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอ่อน ถึงสีน้ำตาลปนแดงอ่อน เสี้ยนตรง หรือสนบ้างเล็กน้อย เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๙ (๔๓%)
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๗.๐๗ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๑๑.๒๘ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๔
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๒๗ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๗๗๖ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๙,๘๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๓๖ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๑.๑๔ น้ำเย็นร้อยละ ๑.๕๘ น้ำร้อนร้อยละ ๒.๘๐ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๗.๐๐ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๘๒ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๕.๑๑ ลิกนินร้อยละ ๓๐.๒๕ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๗.๗๖ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๒.๒๑
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๕-๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น ฝา ทำตง เครื่องบน ใช้ก่อสร้าง สะพาน ทำเรือขุด คันไถ แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ครก สาก กระเดื่อง ฯลฯ ต้นและกิ่งก้านอ่อน รับประทานแก้คลื่นเหียน ภายนอกใช้หยอดหู แก้ปวดหู เปลือก มีสรรพคุณรบกวนเส้นประสาท และผิวหนัง ทำให้คัน มาเลเซียใช้เบื่อปลา ดอก ตากแห้ง แช่น้ำ ให้หญิงคลอดบุตรใหม่ๆ รีบประทนหรือชงในน้ำร้อนรับประทานแทนใบชา แก้ขัดเบา แก้ชัก แก้ลมบ้าหมู มาเลเซียและชะวาใช้ผสมกับน้ำมันทารักษาโรคฝีดาษ ผล มาเลเซียและชะวาใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับเปลือก