All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[4154]
 
ประดู่
Pterocarpus macrocarpus
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ประดู่ (Pterocarpus macrocarpus Kurz ) T [4154]
PAPILIONACEAE
Burmese Ebony, Burma Padouk, Nara
 
  ประดู่,ประดู่ป่า(ภาคกลาง),จิต๊อก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),ฉะนอง(เชียงใหม่),ดู่,ดู่ป่า(ภาคเหนือ), ตะเลอ,เตอะเลอ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ประดู่เสน(ราชบุรี,สระบุรี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ประดู่(Pterocarpus macrocarpus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ประดู่(Pterocarpus macrocarpus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[4154]
ประดู่ ( Pterocarpus macrocarpus)
PAPILIONACEAE
ประดู่,ประดู่ป่า(ภาคกลาง),จิต๊อก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),ฉะนอง(เชียงใหม่),ดู่,ดู่ป่า(ภาคเหนือ), ตะเลอ,เตอะเลอ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ประดู่เสน(ราชบุรี,สระบุรี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้น และแล้งทั่วไป เว้นแต่ทางภาคใต้ มีมากทางภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๖๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ ๒๐ เมตรขึ้นไป ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงกลมหรือรูปเจดีย์ต่ำๆ ทึบ เปลือกสีน้ำตาลดำหรือเทา หนา แตกเป็นสะเก็ดทั้งตามยาว และตามขวางลำต้น เปลือกในสีแดง ปลายกิ่งส่วนมากจะชี้ขึ้น ใบและดอกจะคล้ายกับประดู่บ้าน (Pterocarpus inducus Willd.) มาก คือใบออกเป็นช่อ มีใบย่อยช่อละ ๗-๙ ใบ บางครั้งอาจถึง ๑๓ ใบ ลักษณะคล้ายแผ่นหนังบางๆ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง ๔-๕ ซม. ยาว ๖-๑๐ ซม. ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย โคนกว้าง มนกลม เรียวโค้งสอบเข้าหากันทางปลายใบ ปลายสุดยาวยื่นออกมาเห็นได้ชัด หลังใบสีเขียวเข้มกว่าท้องใบ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด ผลขนาดใหญ่กว่าประดู่บ้านมาก คือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๖-๑๐ ซม. มีขนอยู่ทั่วไป
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงอมเหลือง ถึงสีแดงอย่างสีอิฐแก่ มีเส้นสีแก่กว่าสีพื้น บางทีมีลวดลายงาม เสี้ยนสน เป็นริ้ว เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง แข็งแรง และทนทาน ไสกบ ตบแต่งและชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๗
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๙๒๖ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๓๓๔ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๑๙,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๕-๑๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๔.๗ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการปลูกสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำกระดานพื้น ฝา เสา รอด ตง ฯลฯ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ รถ รถปืนใหญ่ เกวียน เครื่องเรือนที่สวยงาม ลูกกลิ้ง ด้ามเครื่องมือ และสิ่งอื่นๆ ที่ต้องการความแข็งแรง และทนทาน ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำโครงกระดูกงู ลูกประสัก และส่วนต่างๆ ของเรือเดินทะเล ไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ฟันสีข้าว ทำหูก กระสวย ไม้คาน ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ คันกระสุน ทำหวี และสันแปรง ไม้สำหรับกลึง แกะ แกะสลัก ทำหลักเต้นท์ พานท้าย และรางปืน ซออู้ ซอด้วง จะเข้ ขลุ่ย รางและลูกระนาด กรับ ขาฆ้องวง เปียนโน หีบเสียง ด้ามปากกา ไม้บรรทัด ไม้ฉาก ไม้เท้า ด้ามร่ม และใช้เป็นยาบำรุงโลหิต แก้กษัย แก่น ให้สีแดงคล้ำ ใช้ย้อมผ้า ในประเทศจีนและญี่ปุ่นนิยมใช้ทำเครื่องเรือนกันมาก ปุ่มประดู่มีลวดลายสวยงามมาก และมีราคาแพง ใช้ทำเครื่องเรือนและเครื่องใช้ชั้นสูง เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า