All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3925]
 
สนสองใบ
Pinus merkusii
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สนสองใบ (Pinus merkusii Jungh. & de Vriese ) T [3925]
PINACEAE
Merkusii pine
 
  สนสองใบ,สนเขา,สนหางม้า(ภาคกลาง),เกี๊ยะเปลือกดำ(ภาคเหนือ),เก๊ยะเปลือกหนา(เชียงใหม่), จ๋วง(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ),เชียงเซา(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),โช(กระเหรี่ยง เชียงใหม่), ไต้(อุบลราชธานี,ศรีษะเกษ), LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สนสองใบ(Pinus merkusii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สนสองใบ(Pinus merkusii) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3925]
สนสองใบ ( Pinus merkusii)
PINACEAE
สนสองใบ,สนเขา,สนหางม้า(ภาคกลาง),เกี๊ยะเปลือกดำ(ภาคเหนือ),เก๊ยะเปลือกหนา(เชียงใหม่), จ๋วง(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ),เชียงเซา(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),โช(กระเหรี่ยง เชียงใหม่), ไต้(อุบลราชธานี,ศรีษะเกษ),
ท้องที่ที่ขึ้น
ชอบขึ้นเป็นหมู่ๆตามภูเขาที่แห้งแล้ง และขึ้นประปรายตามป่าเต็งรังในภาคเหนือ กับบางส่วนของภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๓๐๐-๑,๘๐๐ เมตร และบางแห่งอาจอยู่ในที่ต่ำกว่านี้ เช่น อำเภอชะอำ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นอยู่ในป่าเต็งรัง ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๒๕ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๓๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดที่สมบูรณ์จะเป็นพุ่มกลม เปลือกสีค่อนข้างดำ หรือน้ำตาลปนดำ หนามาก แตกเป็นร่องลึก และเป็นสะเก็ดหนาๆ แข็งมาก มักมียางสีเหลืองอ่อนใสๆ ซึมออกมาจากรอยแตก กระพี้สีเหลืองอ่อน หรือเหลืองแกมขาว มียางซึมทั่วไป แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบแข็ง ยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ออกเป็นกระจุกๆละ ๒ ใบ ยาว ๑๕-๒๕ ซม. หลังใบเป็นร่องแบบรางน้ำตลอด ท้องใบโค้งมนเป็นรูปเกือกม้า ขอบหยักถี่ ละเอียด ปลายแหลม โคนอัดแน่นอยู่ในกระเปาะ ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อสีเหลือง แบบหางกระรอก ติดกันเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ปลายกิ่ง ช่อยาว ๒-๔ ซม. ดอกเพศเมียออกชิดติดกิ่งถัดเข้ามา มักออกเป็นดอกเดี่ยวๆหรือเป็นคู่ เมื่อผสมพันธ์แล้วจะเติบโตเป็นผลต่อไป ผลอ่อนลักษณะกลมหรือรูปไข่ ยาว ๕-๘ ซม. เมื่อแก่จัดจะแตกอ้าออกเป็นเกล็ดๆ หรือเป็นกลีบรูปช้อนแข็งๆ ติดอยู่กับแกนกลางของผล เมล็ดรูปรีๆ มีครีบบางๆสีขาว
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแกมเหลือง ถ้าทิ้งไว้นานมีสีเข้มขึ้น ถึงน้ำตาลแกมชมพู เมื่อเลื่อยหรือผ่าไม้ ให้ได้ฉากกับวงรอบปี จะมีริ้วสีอ่อนกว่าสีพื้น เสี้ยนตรง เนื้อไม้ค่อนข้างหยาบ เหนียว อ่อน เบาปานกลาง ตบแต่งง่าย ชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๓
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๔.๔๐ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๓๔ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๔
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๐๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๔,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๒๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๑๐.๖๐ น้ำเย็นร้อยละ ๒.๔๓ น้ำร้อนร้อยละ ๖.๓๗ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๐.๐๔ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๓๙ เพ็นโตซานร้อยละ ๗.๗๓ ลิกนินร้อยละ ๒๔.๐๙ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๘.๙๒ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๖.๑๖
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑-๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔.๙ ปี ถ้าใช้ในร่มทนทานดี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดาน พื้น ฝา รอด ตง และในการก่อสร้างต่างๆที่อยู่ในร่ม ตู้ โต๊ะ เครื่องเรือน ลังใส่ของ บรรจุสินค้า เสากระโดงเรือ ไม้บุฝาผนังที่สวยงาม เครื่องดนตรี ฯลฯ มีคุณสมบัติ เหมาะแก่การทำเยื่อกระดาษ มีเส้นใยยาวถึงราว ๔.๙๖ มม. ยาง ที่ได้จากการเจาะลำต้น นำเอาไปกลั่นได้น้ำมัน และชันสน น้ำมัน ที่ได้จากการกลั่นยางสนดิบ ใช้ผสมยา ทำการบูร เทียน ผสมสี ผสมสี ทำสบู่ ฯลฯ ชัน ที่ได้จากการกลั่นยางสนดิบ ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ทำกระดาษ ผ้าสีน้ำตาลอ่อน กาว น้ำมันวาณิช และยางสังเคราะห์ ใช้ถูคันชัก ของเครื่องดนตรีบางชนิด เช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง ฯลฯ