All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:สวนป่าเบญจกิตติ LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3924]
 
สนสามใบ
Pinus kesiya
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สนสามใบ (Pinus kesiya Royle ex Gordon ) T [3924]
PINACEAE
Kesiya pine , Khasya pine
 
  สนสามใบ,สนเขา(ภาคกลาง),เกี๊ยะเปลือกแดง(ภาคเหนือ),เกี๊ยะเปลือกบาง(เชียงใหม่),จ๋วง(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงปั้ง(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),แปก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน,เพชรบูรณ์), LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สนสามใบ(Pinus kesiya) LFG
 
   
   
 
บทความ: สนสามใบ(Pinus kesiya) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3924]
สนสามใบ ( Pinus kesiya)
PINACEAE
สนสามใบ,สนเขา(ภาคกลาง),เกี๊ยะเปลือกแดง(ภาคเหนือ),เกี๊ยะเปลือกบาง(เชียงใหม่),จ๋วง(ภาคเหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ), เชี้ยงปั้ง(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),แปก(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน,เพชรบูรณ์),
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆตามป่าเขา ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๘๐๐-๑,๖๐๐ เมตร ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๐-๓๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดที่สมบูรณ์จะเป็นพุ่มกลม เปลือกสีน้ำตาลปนชมพูอ่อน ล่อนเป็นสะเก็ดตื้นๆ รูปตาข่าย มักมียางสีเหลืองอ่อนใสๆ ซึมออกมาตามรอยแตก กระพี้สีขาว ถึงขาวแกมเหลือง หรือเหลืองอ่อน มียางซึมอยู่ทั่วไป กระพี้กับแก่น แยกจากกันเห็นได้ชัด ใบเล็กยาวเรียวเป็นรูปเข็ม ไม่แข็ง ออกเป็นกระจุกๆละ ๓ ใบ ยาว ๑๐-๒๕ ซม. หลังใบเป็นร่องแบบรางน้ำตลอด ท้องใบโค้งเป็นรูปเกือกม้า ขอบหยักถี่ ละเอียด ปลายแหลม โคนอัดแน่นอยู่ในกระเปาะ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อสีเหลืองแบบหางกระรอก ติดเป็นกลุ่มบริเวณใกล้ๆปลายกิ่ง ช่อดอกยาว ๒-๔ ซม. ดอกเพศเมียออกเดี่ยวๆ หรืออย่างมากไม่เกิน ๓ ดอก และออกตามกิ่ง เมื่อผสมพันธ์แล้วจะเติบโตเป็นผล ผลอ่อนมีลักษณะกลม ขนาด ๕-๘ ซม. เมื่อแก่จัดจะแตกแยกออกเป็นกลีบแข็งๆ โคนกลีบยังคงติดอยู่กับแกนกลางของผล และมีลักษณะเป็นรูปกรวยคว่ำ เมล็ดรูปรีๆ มีครีบบางๆ สีขาว
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลือง ถึงน้ำตาลอ่อน หรือน้ำตาลแกมชมพู มักมีริ้วสีแก่กว่าสีพื้นผ่าน เสี้ยนตรง เนื้อละเอียด ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๓
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๔.๑๒ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๒๗ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๖
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๐๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๕๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๕,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๒๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๓.๐๙ น้ำเย็นร้อยละ ๒.๔๓ น้ำร้อนร้อยละ ๔.๔๙ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๕.๘๖ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๓๘ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๑.๓๐ ลิกนินร้อยละ ๒๘.๖๖ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๒.๒๖ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๕.๘๙
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๓-๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๓.๒ ปี ถ้าใช้ในร่มทนทานดี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างที่อยู่ในร่ม ตู้ โต๊ะ เครื่องเรือน ลังใส่ของ เครื่องดนตรี กระดานดำ พื้น ฝา รอด ตง ไม้บุผนังที่สวยงาม เสากระโดงเรือใบ ฯลฯ มีคุณสมบัติ เหมาะสมแก่การใช้ทำเยื่อกระดาษ มีเส้นใย ยาวประมาณ ๓.๑๓ มม. ยาง ที่เจาะได้จากลำต้น นำเอาไปกลั่นได้น้ำมัน และชันสน น้ำมัน ที่ได้จากการกลั่นยางสนดิบ ใช้ผสมยา ทำการบูรเทียม ผสมสีทำสบู่ ฯลฯ ชัน ที่ได้จากการกลั่นยางสนดิบ ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม ทำกระดาษ ผ้าสีผ้าดอก น้ำมันวานิช กาว และยางสังเคราะห์ ใช้ถูคันชักที่ใช้สีเครื่องดนตรีต่างๆ เช่น ไวโอลิน ซออู้ ซอด้วง ฯลฯ