All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3854]
 
สะทิบ
Phoebe paniculata
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สะทิบ (Phoebe paniculata Nees ) T [3854]
LAURACEAE
 
  สะทิบ(อุตรดิตถ์),กอหิน(เลย),กะทิต(ตราด),กะทิตใบหลวง(จันทบุรี),คางคก(ลำปาง,แพร่),จันทิพ(นครศรีธรรมราช), เซโกรโบ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),ตองแข็ง,มะดูกดง(เชียงใหม่),ตะนมบังกรวย(เขมร จันทบุรี), ทบ(ชุมพร,นครศรีธรรมราช),ทัน(สุราษฎร์ธานี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สะทิบ(Phoebe paniculata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สะทิบ(Phoebe paniculata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3854]
สะทิบ ( Phoebe paniculata)
LAURACEAE
สะทิบ(อุตรดิตถ์),กอหิน(เลย),กะทิต(ตราด),กะทิตใบหลวง(จันทบุรี),คางคก(ลำปาง,แพร่),จันทิพ(นครศรีธรรมราช), เซโกรโบ(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),ตองแข็ง,มะดูกดง(เชียงใหม่),ตะนมบังกรวย(เขมร จันทบุรี), ทบ(ชุมพร,นครศรีธรรมราช),ทัน(สุราษฎร์ธานี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ในป่าดงดิบทั่วไป มีมากทางภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๐-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง กิ่งเล็กจะโค้งขึ้น เรือนยอดเป็นพุ่ม รูปเจดีย์ต่ำๆ หรือรูปกรวย ทึบ เปลือกนอกสีเทา หรือน้ำตาลปนเทา เรียบ เปลือกชั้นในสีนวลๆ มีทางสีน้ำตาลผ่าน ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนกันอยู่ตามปลายกิ่งเล็กๆ ดูเป็นช่อกลม รูปหอก เนื้อใบหนา เกลี้ยง ท้องใบเป็นคราบขาวๆ ดอกเล็ก สีเหลืองอ่อน หรือเขียวอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อโตๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง ก้านช่อดอกเกลี้ยง ผลรูปไข่กลับ แข็ง ตามผิวเป็นคราบสีนวลๆ
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงแกมเทา ถึงน้ำตาลอ่อน เสี้ยนสน เนื้อละเอียด แข็ง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก เป็นไม้ที่ทนทาน และแข็งแรง แต่ผึ่งให้แห้งได้ยาก และมักแตกร้าว ต้องระมัดระวัง
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๗
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๕๙๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๙๑ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๔๑,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๕๒ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ประมาณไม่ต่ำกว่า ๗ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ไม่สามารถอาบน้ำยาไม้ด้วยวิธีการตามปกติได้ (ชั้นที่ ๖)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา และในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำพื้น ฝา รอด ตง ฯลฯ สะพานท่าน้ำ ค้างพลู