All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3750]
 
สะเหรี่ยง
Parkia timoriana
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สะเหรี่ยง (Parkia timoriana Merr. ) T [3750]
MIMOSACEAE
 
  สะเหรี่ยง,กะเหรียง,เรียง(ภาคใต้),นะกิง,นะริง(มลายู ภาคใต้) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สะเหรี่ยง(Parkia timoriana) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สะเหรี่ยง(Parkia timoriana) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3750]
สะเหรี่ยง ( Parkia timoriana)
MIMOSACEAE
สะเหรี่ยง,กะเหรียง,เรียง(ภาคใต้),นะกิง,นะริง(มลายู ภาคใต้)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดงดิบทั่วภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ บางทีสูงถึง ๔๐-๕๐ เมตร โคนต้นเป็นพูพอนสูงๆ ลำต้นส่วนมากค่อนข้างเปลาตรง เปลือกเรียบ สีเทาปนเขียวอ่อน กิ่งก้านมีขนประปราย ลักษณะทั่วไปคล้ายกับสะตอ แต่พุ่มใบแน่นและสีเขียวทึบกว่าสะตอ ใบเป็นช่อยาว ๒๕-๔๐ ซม. มีช่อแขนงด้านข้าง ๑๘-๓๓ คู่ ช่อแขนงยาวประมาณ ๗-๑๒ ซม. มีใบย่อยช่อละ ๔๐-๗๐ คู่ ใบย่อยรูปขอบขนานแคบๆ กว้าง ๕-๗ มม. ยาว ๑๕-๑๘ มม. ปลายแหลมโค้งไปข้างหน้า โคนมักยื่นเป็นติ่งเล็กน้อย ดอกออกเป็นช่อกลม ขนาด ๒ x ๔ ซม. ผลเป็นฝัก กว้าง ๓-๔ ซม. ยาว ๒๒-๒๘ ซม. ตรง เปล็ดรูปไข่ ขนาดประมาณ ๑๑ x ๒๐ มม. มีประมาณฝักละ ๒๐ เมล็ด เปลือกหนาสีคล้ำ
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาวนวล ไม่มีแก่น อ่อน และเปราะ เสี้ยนตรง สม่ำเสมอ เลื่อย ผ่าได้ง่าย แต่ใช้ไม่ทนทาน เว้นแต่จะได้อาบน้ำยาเสียก่อน
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๘
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๕๔ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๓๖ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๗๘ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๘๐๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๘๘,๗๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๖๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๕.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๓ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำของเด็กเล่น รองเท้าไม้ หีบใส่ของ เครื่องเรือน ฯลฯ เมล็ด ใช้เป็นยาแก้จุกเสียด ต้นอ่อน ที่งอกจากเมล็ดและยังมีเมล็ดติดอยู่แบบถั่วงอก ใช้ดองรับประทานเป็นผักดอง