All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3739]
 
ไข่เขียว
Parashorea stellata
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ไข่เขียว (Parashorea stellata Kurz ) T [3739]
DIPTEROCARPACEAE
Tavoy Wood
 
  ไข่เขียว(ภาคใต้),กุเบ้(มลายู นราธิวาส),โกเบ้(มลายู ภาคใต้),เคียนส่วย(สุราษฎร์ธานี),แคเมาะ(นราธิวาส), ตะเคียนซวย,ส่วย(นครศรีธรรมราช),ตะเคียนสามพอน(พังงา),เบัเขียง(สตูล) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ไข่เขียว(Parashorea stellata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ไข่เขียว(Parashorea stellata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3739]
ไข่เขียว ( Parashorea stellata)
DIPTEROCARPACEAE
ไข่เขียว(ภาคใต้),กุเบ้(มลายู นราธิวาส),โกเบ้(มลายู ภาคใต้),เคียนส่วย(สุราษฎร์ธานี),แคเมาะ(นราธิวาส), ตะเคียนซวย,ส่วย(นครศรีธรรมราช),ตะเคียนสามพอน(พังงา),เบัเขียง(สตูล)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบตั้งแต่จังหวัดกาญจนบุรีลงไปจนสุดภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ ๕๐-๖๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๔๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกว้าง ค่อนข้างโปร่ง ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมีพูพอน และมีต่อมระบายอากาศใหญ่ตามพอน และรากที่พ้นพื้นดินขึ้นมา เปลือกสีน้ำตาล แตกเป็นร่องลึก ใต้เปลือกนอกเป็นสีเขียว เปลือกในสีน้ำตาลอ่อน ใบรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด ๒-๖ x ๗-๑๗ ซม. ใบแห้งเป็นมันออกสีเขียวอมเหลือง ใบแก่มักมีรอยด่างสีน้ำตาลแกมแดง และมักมีตุ่มกลมๆ จากแมลงที่มาวางไข่ไว้ ใบอ่อนมักมีคราบสีขาวทางท้องใบ ปลายเรียว สอบ โคนมน ดอกสีขาวหรือเหลืองอ่อนๆ ออกเป็นช่อมากมายตามง่ามใบและปลายกิ่ง กลิ่นหอม ผลรูปไข่ปลายแหลม มีปีกขนาดเดียวกัน ๕ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาล แก่นมีสีคล้ำกว่ากระพี้เล็กน้อย และใกล้เคียงกับไม้ยางมาก ส่วนลักษณะของเนื้อไม้ ใกล้เคียงกับไม้ชัน หรือเต็งดงมาก แต่อ่อนกว่า เสี้ยนตรง เนื้อหยาบแข็งปานกลาง มีทางขาวๆเป็นช่องๆชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณแก่น เลื่อย ผ่า ตบแต่งได้ง่าย ขัดชักเงาได้ดีพอสมควร
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๔
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๑๘ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๑๐.๓๐ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๑
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๓๘๒ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๙๐๙ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๑๓,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๙๘ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๒.๙๘ น้ำเย็นร้อยละ ๑.๘๑ น้ำร้อนร้อยละ ๒.๗๑ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๑.๔๘ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๖๑ เพ็นโตซานร้อยละ๑๕.๖๔ ลิกนินร้อยละ๒๖.๐๘ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๐.๕๔
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๕-๑๒.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๖.๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในที่ร่ม เช่น กระดานพื้น ฝา รอด ตง อกไก่ ทำเรือมาด เรือใบ เสากระโดงเรือ ทำหูก รางล้างแร่ และใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย เปลือก ต้ม ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล