All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม: ยังไม่ได้เลือกกลุ่ม LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3592]
 
ก้านเหลือง
Nauclea orientalis
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ก้านเหลือง (Nauclea orientalis Linn. ) T [3592]
RUBIACEAE
Cheeswood.
 
  ก้านเหลือง,ตะกู,สะแกเหลือง(ภาคกลาง),กระทุ่มคลอง,กระทุ่มน้ำ(ภาคกลาง,ภาคใต้),กะเลอ,เส่สะบอ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ตุ้มขัก,ตุ้มคำ(ภาคเหนือ),ตุ้มดง(ลำปาง,บุรีรัมย์),ตุ้มเหลือง(แม่ฮ่องสอน),ปอขี้หมาแห้ง(บุรีรัมย์) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ก้านเหลือง(Nauclea orientalis) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ก้านเหลือง(Nauclea orientalis) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3592]
ก้านเหลือง ( Nauclea orientalis)
RUBIACEAE
ก้านเหลือง,ตะกู,สะแกเหลือง(ภาคกลาง),กระทุ่มคลอง,กระทุ่มน้ำ(ภาคกลาง,ภาคใต้),กะเลอ,เส่สะบอ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), ตุ้มขัก,ตุ้มคำ(ภาคเหนือ),ตุ้มดง(ลำปาง,บุรีรัมย์),ตุ้มเหลือง(แม่ฮ่องสอน),ปอขี้หมาแห้ง(บุรีรัมย์)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามริมแม่น้ำ ลำธาร หรือตามที่ชุ่มชื้น ในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ ภาคตะวันออก หรือภาคตะวันตกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๓๐๐-๔๕๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นมักคดงอ เปลือกสีเทา ใบมนหรือรูปไข่ ขนาด ๔-๑๒ x ๗-๑๖ ซม. โคนสอบ หรือมนกว้าง หรือหยักเว้าเข้า ปลายสอบเป็นติ่งหรือมน เนื้อค่อนข้างหนา ท้องใบมีขนนุ่มหนาแน่น หลังใบมีขนประปรายหรือเกลี้ยง ออกสีน้ำตาลปนดำเมื่อแห้ง ดอกออกเป็นช่อกลมเดี่ยวๆตามง่าม และออกเป็น๓ ช่อตามปลายกิ่ง ผลเล็ก ผิวแข็ง อยู่รวมกันเป้นกลุ่มกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑-๒ ซม. เมล็ดมีปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองเข้ม ถึงสีเหลืองปนแสด หรือสีน้ำตาล เสี้ยนตรง ละเอียดพอประมาณ อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๕๖
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๗๑ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๖๐๓ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๖๔,๔๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๑๒ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบ็นซิน ร้อยละ ๑๐.๔๖ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๙๒ น้ำร้อนร้อยละ ๔.๔๔ และโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ๑ เปอร์เซ็นต์ ร้อยละ ๑๔.๗๐ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๕๓ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๓.๒๖ ลิกนินร้อยละ ๓๐.๖๓ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๐.๓๒ และเซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๐.๖๘
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๒.๔ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำพื้น ฝา เครื่องเรือน หีบใส่ของ ไม้บุผนังที่สวยงาม ทำกระสวย ไม้คาน พานท้าย และรางปืน ทำกลอง โทน รำมะนา