All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3417]
 
บุนนาค
Mesua ferrea
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
บุนนาค (Mesua ferrea Linn. ) T [3417]
GUTTIFERAE
Gangaw, Mesua, Iron-wood, Indian Rose Chestnut
 
  บุนนาค(ทั่วไป),ก๊าก่อ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ก้ำก่อ(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),ปะนาคอ(มลายู ปัตตานี), สารภีดอย(เชียงใหม่) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: บุนนาค(Mesua ferrea) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: บุนนาค(Mesua ferrea) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3417]
บุนนาค ( Mesua ferrea)
GUTTIFERAE
บุนนาค(ทั่วไป),ก๊าก่อ(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),ก้ำก่อ(เงี้ยว แม่ฮ่องสอน),ปะนาคอ(มลายู ปัตตานี), สารภีดอย(เชียงใหม่)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ประปรายห่างๆกันในป่าดิบชื้น ทางภาคเหนือและภาคใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐-๗๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ รูปเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นเปลาตรง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา กระพี้สีขาวแยกจากแก่นเห็นชัดเจน ใบรูปหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก ขนาด ๒-๓ * ๘-๑๒ ซม. เนื้อหนา เรียบ เกลี้ยง โคนสอบ ปลายสอบเรียวแหลม หลังใบมีคราบขาวนวล ใบอ่อนสีชมพู ขอบเรียบ ดอกโต สีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ออกเดี่ยวๆหรือเป็นกระจุกๆละ ๒-๓ ดอก ตามง่ามใบ กลิ่นหอมมาก ผลเป็นรูปไข่ ขนาด ๒ * ๔ ซม. ปลายโค้งแหลม กลีบรองดอกขยายโตขึ้นเป็นกาบหุ้มผล ๔ กาบ มีเมล็ด ๑-๒ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงคล้ำ เป็นมันเลื่อม เสี้ยนค่อนข้างสน เนื้อค่อนข้างหยาบ แข็ง เหนียว ทนทานดีมาก เลื่อย ผ่า ตบแต่งยาก ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๑๒ (๑๔%)
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๖.๓๗ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๑๐.๒๒ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๒
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๕๑๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๒,๒๙๓ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๒๓๐,๗๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๕.๔๔ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ประมาณ ๑๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำหมอนรองรางรถไฟ ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เสาเรือน สะพาน เครื่องเรือน ด้ามเครื่องมือ และใช้ในการต่อเรือ ซึ่งโดยมาก นิยมใช้ทำกระดูกงู กง และเสากระโดง ทำพื้น รอด ตง ขื่อ และเครื่องบนในการสร้างบ้าน ทำลูกประสัก คราด ครก สาก กระเดื่อง ลูกหีบ ฟันสีข้าว เพลาเกวียน และส่วนประกอบของล้อเกวียน กระสวย ไม้คาน ด้ามหอก ใช้สำหรับกลึง แกะสลัก พานท้าย และรางปืน ไม้เท้า ด้ามร่ม และใช้เป็นยาแก้ลักปิดลักเปิด กระพี้ แก้เสมหะในลำคอ ราก แก้ลมในลำไส้ ฯลฯ เปลือก ใช้กระจายหนอง ใบ ใช้พอกบาดแผลสด อินเดียและพม่าใช้แก้พิษงู ดอก เข้ายารักษาไข้กาฬ แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิตและแก้กลิ่นตัว และใช้ผสมสีเพื่อช่วยให้สีติดทน เมล็ด มาเลเซียและอินเดีย ตำใส่บาดแผล น้ำมันที่กลั่นจากเมล็ด ใช้จุดตะเกียงและปรุงเครื่องสำอาง