[3271] มะซาง ( Madhuca pierrei) SAPOTACEAE มะซาง(ภาคกลาง),ซาง (ภาคกลาง) มะเค็ด (นครสวรรค์) หนามซาง
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าดงดิบ และป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐-๑๐๐ เมตร |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ดสี่เหลี่ยมและเป็นร่องลึก สับดูเป็นสีแดงอ่อน มียางข้นสีขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งอ่อนอวบ มีขนสีเทานุ่ม และมีรอยแผลใบปรากฏอยู่ ใบรูปไข่กลับขนาด ๕-๑๐ x ๑๒-๒๑ ซม. โคนสอบและมักหยักเว้าเข้า ปลายกว้างป้านหรือหยักเป็นติ่งเล็กน้อย เนื้อหนา หลังใบเกลี้ยง หรือเกือบเกลี้ยง ท้องใบมีขนสีเทาหนาแน่น ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมเล็กน้อย ออกเป็นกระจุกตามปลายกิ่ง เหนือกลุ่มใบ กลีบดอกมี ๖ กลีบ ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓ ซม. |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแก่ หรือน้ำตาลไหม้ เนื้อละเอียด ค่อนข้างแข็งและแน่น เสี้ยนตรง สม่ำเสมอ เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งได้ง่าย ผึ่งแห้งได้ดี |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๓ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๑๐๕ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๘๐ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐๒,๓๕๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๕๐ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๐ X ๑๓.๖ ปี เฉลี่ยประมาณ จง๖.๕ |
การอาบน้ำยาไม้
|
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา เครื่องเรือน กระดานพื้น ฝา และด้ามเครื่องมือ แจว พาย กรรเชียง
เมล็ด ให้น้ำมัน รับประทานเป็นอาหารได้
ผล สุกมีรสหวาน รับประทานได้
|