All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[321]
 
สัตบรรณ
Alstonia scholaris
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
สัตบรรณ (Alstonia scholaris R. Br. ) T [321]
APOCYNACEAE
White Cheese-wood , Shaitan wood , Devil Tree
 
  สัตบรรณ(กลาง, เขมร-จันทบุรี); กะโน้ะ(เขมร-แม่ฮองสอน); จะบัน(เขมร-ปราจีนบุรี); ชบา, ตีนเป็ด, พญาสัตบรรณ(กลาง); ตีนเป็ดขาว(ยะลา); บะซา, ปูลา, ปูแล(มลายู-ยะลา, ปัตตานี); ยางขาว(ลำปาง); หัสบรรณ(กาญจนบุรี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: สัตบรรณ(Alstonia scholaris) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: สัตบรรณ(Alstonia scholaris) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[321]
สัตบรรณ ( Alstonia scholaris)
APOCYNACEAE
สัตบรรณ(กลาง, เขมร-จันทบุรี); กะโน้ะ(เขมร-แม่ฮองสอน); จะบัน(เขมร-ปราจีนบุรี); ชบา, ตีนเป็ด, พญาสัตบรรณ(กลาง); ตีนเป็ดขาว(ยะลา); บะซา, ปูลา, ปูแล(มลายู-ยะลา, ปัตตานี); ยางขาว(ลำปาง); หัสบรรณ(กาญจนบุรี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ห่างๆกัน ในป่าดงดิบทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และตามริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณชื้น ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร โคนต้นมักจะเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อน หรือเทาอมเหลือง ค่อนข้าหนา แต่เปราะ ใบเรียงกันเป็นวง แต่ละวงมี ๔-๗ ใบ รูปมนแกมรูปบรรทัด หรือมนแกมรูปไข่กลับ ปลายมักแหลมเป็นติ่งเล็กน้อย โคนสอบเข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ ดอกขนาดเล็ก สีเขียวออกขาว หรือเขียวอมเหลือง ออกเป็นกลุ่มบนช่อที่แตกกิ่งก้านออกจากจุดเดียวกัน ผลเป็นฝักกลม ยาว เรียว และห้อยลง ขนาดโตเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒-๕ มม. เมล็ดรูปบรรทัดแคบๆ ยาวประมาณ ๗ มม. มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง
ลักษณะเนื้อไม้
ไม่มีแก่น เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ ค่อนข้างเหนียว เด้ง อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่ายมาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๑
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๔.๐๑ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๙๙ น้ำร้อนร้อยละ ๕.๕๕ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๓.๙๙ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๒๔ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๓.๑๕ ลิกนินร้อยละ ๓๑.๗๒ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๙.๓๕ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๓.๕๑
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๘-๒.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑.๔ ปี เป็นไม้ที่เห็ดราทำลายไม้ และเห็ดราย้อมสีชอบ ทำให้ผุง่าย และขึ้นราสีดำเร็ว แมลงชอบทำลาย ฉะนั้น ในการทำไม้ เมื่อตัดโค่นล้มลงแล้ว ต้องรีบทำการชักลาก ออกมาเก็บรักษาไว้ในที่ปลอดภัย มิเช่นนั้น จะถูกปลวกเจาะทำลาย และขึ้นราสีดำ สำหรับไม้ซุงท่อน ควรเก็บรักษาไว้ในน้ำ เพื่อป้องกันแมลง และเห็ดราทำลาย
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องใช้ หีบใส่ของ รองเท้าไม้ ฝักมีด หีบศพ ลูกทุ่นอวน แจว พาย กรรเชียง หีบใส่ใบชา ของเล่นสำหรับเด็ก ทำไม้จิ้มฟัน ลักษณะคล้ายไม้ทุ้งฟ้า ควรใช้ร่วมกันได้ เปลือก รักษาโรคบิด ขับไส้เดือน แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ และเป็นยาสมานลำไส้ ใบ ใช้พอกดับพิษต่างๆ ยาง ทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย ผสมกับน้ำมันแก้ปวดหู เป็นยาบำรุงกระเพาะ และยาบำรุงภายหลังเจ็บไข้