All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3099]
 
กุ๊ก
Lannea coromandelica
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
กุ๊ก (Lannea coromandelica Merr. ) T [3099]
ANACARDIACEAE
wodier
 
  กุ๊ก,อ้อยช้าง(ภาคเหนือ),กอกกั๋น(อุบลราชธานี),ช้าเกาะ,ช้างโน้ม(ตราด),ซาเกะ(สุราษฎร์ธานี),ตะคร้ำ(ราชบุรี,กาญจนบุรี), ปีเชียง,เส่โทกี(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),แม่หยู่ว้าย(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),เส่งลู่ไค้(กระเหรี่ยง เชียงใหม่), หวีด(เชียงใหม่) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: กุ๊ก(Lannea coromandelica) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: กุ๊ก(Lannea coromandelica) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3099]
กุ๊ก ( Lannea coromandelica)
ANACARDIACEAE
กุ๊ก,อ้อยช้าง(ภาคเหนือ),กอกกั๋น(อุบลราชธานี),ช้าเกาะ,ช้างโน้ม(ตราด),ซาเกะ(สุราษฎร์ธานี),ตะคร้ำ(ราชบุรี,กาญจนบุรี), ปีเชียง,เส่โทกี(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน),แม่หยู่ว้าย(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),เส่งลู่ไค้(กระเหรี่ยง เชียงใหม่), หวีด(เชียงใหม่)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณชื้น เบญจพรรณแล้ง ป่าดิบแล้ง ป่าผสม ป่าละเมาะ และป่าหญ้าทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐-๗๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง สูงประมาณ ๘-๑๕ เมตร ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่งๆ ตามกิ่งอ่อนมีขนประปราย มีรอยแผลใบและต่อมระบายอากาศทั่วไป เปลือกสีเทา เทาอมเขียว หรือขาวปนเทา เรียบ หรือแตกเป็นแผ่นๆห้อยย้อยลง ใบเป็นช่อเรียงสลับเวียนกัน ช่อหนึ่งมีใบย่อย ๒-๗ คู่ รูปไข่แกมรูปหอก ขนาด ๑.๐-๒.๕ x ๑๐ ซม. โคนเบี้ยว ปลายเป็นติ่งยาวทู่ๆ เนื้อค่อนข้างหนา หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนประปราย ขอบเรียบ ดอกสีเหลืองอ่อนๆ กลิ่นหอม มีทั้งดอกสมบูรณ์ และดอกแยกเพศ ออกเป็นช่อตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง กลีบดอกและกลีบรองดอกส่วนมากจะมีอย่างละ ๔ กลีบ ดอกเพศผู้โตกว่าดอกเพศเมียเล็กน้อย ผลมีขนาดและลักษณะคล้ายเมล็ดถั่ว ขนาด ๗ x ๑๐-๑๕ มม. มีเนื้อเยื่อบางๆหุ้ม เมล็ดแข็งมาก
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีแดงแกมชมพูอ่อน ทิ้งไว้นานสีเข้มขึ้น เสี้ยนค่อนข้างตรง เนื้อละเอียดปานกลาง และสม่ำเสมอ ทนทานดี เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๐ (๑๔%)
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๓๙ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๐๙ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๓๗๗ กก. ความแข็งแรง ประมาณ - กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๔๒,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๕๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๗.๐๐ น้ำเย็นร้อยละ ๕.๘๖ น้ำร้อนร้อยละ ๘.๓๕ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๑.๐๐ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๒.๖๗ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๖.๖๘ ลิกนินร้อยละ ๒๗.๑๓ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๒.๖๓ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๓๘.๑๗
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑๐.๐-๑๐.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๐.๑ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก (ชั้นที่ ๕)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำกระดานพื้น รอด ตง เรือมาด แจว พาย กรรเชียง ไม้สำหรับกลึง แกะ สลัก ทำพานท้ายปืนและรางปืน หีบใส่สินค้า ทำไม้ขีดไฟ เครื่องเรือน ด้ามแปรงแบบรองเท้า และเยื่อกระดาษ เปลือก ใช้เป็นยาใส่แผล แก้ปวดฟัน ใช้ทำเชือก และทุบทำเป็นฝืนสำหรับปูบนหลังช้าง ให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าหนัง ฯลฯ และให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol แก่น รสหวาน ใช้ปรุงเป็นยาแต่งรส ทำให้ชุ่มคอ แก้เสมหะ เหนียว แก้กระหายน้ำ