All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[3089]
 
อินทนิลน้ำ
Lagerstroemia speciosa
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa Pers. )  [3089]
LYTHRACEAE
Jarul , Pyinma , Queen’s Flower , Queen’s Crape Myrtle , Pride of India
 
  อินทนิลน้ำ,อินทนิล(ภาคกลาง,ภาคใต้),ฉ่วงมู(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี), ตะแบกดำ(กรุงเทพ),บางอบะซา(มลายู ยะลา,นราธิวาส), บาเย(มลายู ปัตตานี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: อินทนิลน้ำ(Lagerstroemia speciosa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: อินทนิลน้ำ(Lagerstroemia speciosa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[3089]
อินทนิลน้ำ ( Lagerstroemia speciosa)
LYTHRACEAE
อินทนิลน้ำ,อินทนิล(ภาคกลาง,ภาคใต้),ฉ่วงมู(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี), ตะแบกดำ(กรุงเทพ),บางอบะซา(มลายู ยะลา,นราธิวาส), บาเย(มลายู ปัตตานี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามที่ราบลุ่มที่ชื้นแฉะทั่วไป และบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ลำห้วย ในป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดงดิบ ทางภาคเหนือ ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ แต่ที่มีมากขึ้นอยู่ตามป่าดงดิบในภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๒๕ เมตร ผลัดใบ โคนต้นไม่ค่อยมีพูพอน ลำต้นตรง แต่ไม่มีเปลา มีกิ่งใหญ่แตกออกตามลำต้น กิ่งล่างสูงจากพื้นดินไม่มากนัก เรือนยอดแผ่กว้าง เป็นพุ่มกลม เปลือกหนา สีเทา หรือน้ำตาลอ่อน และมักมีรอยด่างเป็นดวงสีขาว ค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่อง หรือมีรอยแผลเป็น ใบยาว ๑๑-๒๖ ซม. รูปใบค่อนข้างยาว ปลายแหลม เป็นติ่งเล็กน้อย ทั้งใบอ่อนและใบแก่เรียบ ไม่มีขน เนื้อหนา เกลี้ยงเป็นมัน ดอกบานเต็มที่กว้าง ๕.๐-๗.๕ ซม. มีสีต่างๆกัน เช่น สีม่วงสด หรือม่วงปนชมพู หรือสีชมพูล้วน ตรงส่วนบนสุดของดอกตูมจะมีตุ่มกลมเล็กๆ ติดอยู่ตรงกลาง เกสรผู้มีขนาดเดียว ยาวไล่เลี่ยกัน ผลมีขนาดใหญ่ กลมรี ยาว ๒.๒-๒.๖ ซม. ผิวเรียบ ไม่มีขน
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อยังใหม่อยู่เป็นสีแดงเรื่อๆหรือชมพูอ่อน พอนานๆเข้าเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอมแดง เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างละเอียด เป็นมันเลื่อม แข็งปานกลาง เหนียว ทนทาน โดยเฉพาะการใช้ในน้ำ แห้งได้ดี เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดเงาได้งาม
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๖๕
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๕.๑๒ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๖๑ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๓๐
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๗๔ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๘๗๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๑,๔๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๑.๗๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๖-๒๓.๓ ปี เฉลี่ยประมาณ ๙.๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ไม่สามารถอาบน้ำยาด้วยวิธีการตามปกติได้ (ชั้นที่ ๖)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โดยมากใช้เป็นกระดาน พื้น ฝา รอด ตง กระเบื้องไม้มุงหลังคา และส่วนประกอบอื่นๆ ทำเรือใบ เรือแจว เรือเดินทะเล แจว พาย กรรเชียง ทำไถ ไม้นวดข้าว ครก สาก กระเดื่อง ทำลูกหีบ ซี่ล้อ ตัวถังเกวียน รถ ทำไม้คาน ไม้กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำ กังหันน้ำ ไม้หมอนรองรางรถไฟ ถังไม้ทำหีบศพอย่างดี เปียโน ราก ใช้เป็นยาสมานท้อง ใบ ต้มเอาน้ำกินแก้เบาหวาน