All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2946]
 
กระบก
Irvingia malayana
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
กระบก (Irvingia malayana Oliv. ex A. Benn. )  [2946]
IXONANTHACEAE
-
 
  กระบก,กะบก,จะบก,ตระบก(ภาคกลาง),จำเมาะ(เขมร),ซะอัง(ช้อง ตรัง), หมากบก(ตะวันออกเฉียงเหนือ),มะมื่น,มื่น(ภาคเหนือ), มะลื่น,หมักลื่น(สุโขทัย,นครราชสีมา),หลักกาย(ส่วย สุรินทร์) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: กระบก(Irvingia malayana) LFG
 
   
   
 
บทความ: กระบก(Irvingia malayana) LFG
 
 

กระบก
 
   
[2946]
กระบก ( Irvingia malayana)
IXONANTHACEAE
กระบก,กะบก,จะบก,ตระบก(ภาคกลาง),จำเมาะ(เขมร),ซะอัง(ช้อง ตรัง), หมากบก(ตะวันออกเฉียงเหนือ),มะมื่น,มื่น(ภาคเหนือ), มะลื่น,หมักลื่น(สุโขทัย,นครราชสีมา),หลักกาย(ส่วย สุรินทร์)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดง และป่าดิบแล้งทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๕๐-๓๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง โคนมักเป็นพูพอน เปลือกสีเทาอ่อนปนน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ บางทีแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดเป็นพุ่มแน่นทึบ กลม หรือกลมรี สีเขียวเข้ม ใบมนแกมรูปขอบขนาน จนถึงใบรูปหอก กว้าง ๒-๙ ซม. ยาว ๘-๒๐ ซม. ใบหนาเกลี้ยง โคนใบมน สอบ เรียวไปทางปลายใบ ดอกสีขาวปนเขียวอ่อน มีขนนุ่มๆประปราย ผลกลมรี ผลแก่ออกสีเหลือง มีเนื้อหุ้มเมล็ดพอควร เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กระพี้สีขาวปนเหลืองอ่อนแยกจากแก่นเห็นได้ชัด
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีเทาปนน้ำตาล มีสารจำพวกทรายอยู่มาก เสี้ยนตรงแข็งมาก แต่เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย ไม่ทนในที่แจ้ง
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๑.๐๔
สกายสมบัติ
มีอัตรายืดหดตัวทางด้านรัศมี ประมาณร้อยละ ๖.๒๗ ทางด้านสัมผัส ประมาณร้อยละ ๙.๐๕ ทางด้านยาวตามเสี้ยน ประมาณร้อยละ ๐.๐๓
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑๓๖๐ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑๕๐๓ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๑๔,๓๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๓๔ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบ็นซิน ร้อยละ ๑.๒๖ น้ำเย็นร้อยละ ๑.๘๑ น้ำร้อนร้อยละ ๒.๐๑ และโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ๑ % ร้อยละ ๙.๖๙ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๕๔ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๕.๖๙ ลิกนินร้อยละ ๓๐.๑๕ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๒.๙๕ เซลลูโลส(คร็อสส์และบีแวน)ร้อยละ ๕๗.๐๘
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑.๐-๑๓.๘ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ขั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ใช้ทำเครื่องมือกสิกรรม ครก สาก กระเดื่อง ทำฟันสีข้าว สมัยก่อนนิยมใช้เผาถ่าน เพราะได้ถ่านดีให้ความร้อนสูง เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องแล้ว ใช้ในการก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงได้ดี เมล็ด น้ำมันที่ได้จากเนื้อในเมล็ด ใช้ทำอาหร สบู่ เทียนไข เนื้อในเมล็ดใช้รับประทานเป็นอาหารได้