All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2844]
 
กระเบากลัก
Hydnocarpus ilicifolius
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
กระเบากลัก (Hydnocarpus ilicifolius King )  [2844]
FLACOURTIACEAE
 
  กระเบากลัก(สระบุรี),กระเบาซาวา(เขมร จันทบุรี),กระเบาพนม(เขมร สุรินทร์), กระเบาลิง(ทั่วไป),กระเบียน,ขี้มอด(จันทบุรี),กระเรียน(ชลบุรี), คมขวาน(ประจวบคีรีขันธ์),จ๊าเมี่ยง(สระบุรี,แพร่),ดูกช้าง(กระบี่), LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: กระเบากลัก(Hydnocarpus ilicifolius) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: กระเบากลัก(Hydnocarpus ilicifolius) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2844]
กระเบากลัก ( Hydnocarpus ilicifolius)
FLACOURTIACEAE
กระเบากลัก(สระบุรี),กระเบาซาวา(เขมร จันทบุรี),กระเบาพนม(เขมร สุรินทร์), กระเบาลิง(ทั่วไป),กระเบียน,ขี้มอด(จันทบุรี),กระเรียน(ชลบุรี), คมขวาน(ประจวบคีรีขันธ์),จ๊าเมี่ยง(สระบุรี,แพร่),ดูกช้าง(กระบี่),
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายเป็นแห่งๆ ในป่าดงดิบแล้ง หรือป่าเบญจพรรณชื้น ขึ้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามชายทะเล และบริเวณใกล้เขาหินปูน ที่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ ๒๐-๔๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างทึบ ส่วนมากลำต้นเปลา ตรง เปลือกเรียบ สีเทา เปลือกในสีเขียวปนเหลือง กลิ่นเหม็นเขียว กิ่งอ่อนมักมีขนสีน้ำตาลแดงกระจายห่างๆ กิ่งแก่เกลี้ยง ใบมนรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง ๔-๗ ซม. ยาว ๑๒-๑๗ ซม. เนื้อหนา เกลี้ยงเป็นมัน โคนมนหรือเบี้ยวปลายเรียว ใบแห้งสีน้ำตาลปนเหลือง หรืออเขียวอ่อน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ค่อนข้างไปทางปลายใบ ดอกสีเขียวอ่อนออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ ผลกลม แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๔-๕ ซม.ผิวมีขนนุ่มสีดำ มีเมล็ดประมาณ ๑๐-๑๕ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีขาวปนเหลืองอ่อนๆ เสี้ยนตรง เนื้อละเอียดสม่ำเสมอ แข็ง หนักพอประมาณ เลื่อย ผ่า ตบแต่งได้ง่าย ขัดชักเงาได้ดี แต่ค่อนข้างเปราะ ร้าวง่าย ไม่ทนในที่แจ้ง
ความถ่วงจำเพาะ
เฉลี่ยประมาณ ๑.๐๒
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๑๔๑ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๗๖๓ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๔๗,๓๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๔.๗๒ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ค่อนข้างยาก ( ชั้นที่ ๓)
ประโยชน์
ไม้ ยังไม่มีการใช้ทำอะไรแน่นอน นอกจากในบางแห่งใช้ทำฟืน และเผาถ่าน อาจใช้ทำกระดาษ ด้ามเครื่องมือ ไม้บรรทัด และเครื่องมือแกะสลักได้ดี เมื่อแห้งสนิทแล้ว เมล็ด ให้น้ำมันที่เหมาะแก่การใช้บำบัดโรคผิวหนัง ทำยาถ่ายพยาธิ และใช้ทำสบู่