All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2805]
 
ตะเคียนราก
Hopea pierre
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ตะเคียนราก (Hopea pierre Hance )  [2805]
DIPTEROCARPACEAE
 
  ตะเคียนราก(ภาคใต้),แคนฮากหย่อง(หนองคาย) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ตะเคียนราก(Hopea pierre) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ตะเคียนราก(Hopea pierre) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2805]
ตะเคียนราก ( Hopea pierre)
DIPTEROCARPACEAE
ตะเคียนราก(ภาคใต้),แคนฮากหย่อง(หนองคาย)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าดิบชื้น และแล้ง ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคใต้ และตามเกาะต่างๆ ในอ่าวไทย ที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕-๒๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นมักคดงอ โคนเป็นพูเล็กๆ และมีรากค้ำยันตามบริเวณโคนต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมยาว หรือรูปเจดีย์ ค่อนข้างทึบ เปลือกเรียบสีน้ำตาลแก่ ค่อนข้างบาง มีประสีเทาทั่วไป เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู กระพี้สีเหลืองอ่อนปนน้ำตาล มีริ้วเป็นคลื่น ขวางกับรัศมี และมียางเหนียวๆ ซึมเมื่อตัดใหม่ๆ กิ่งอ่อนเรียบ เกลี้ยง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนแกมรูปหอก ขนาด ๒-๔ x ๔-๘ ซม. โคนมนค่อยๆเรียวไปทางปลาย ปลายหยักเป็นติ่งทู่ๆ ยาวๆ เนื้อค่อนข้างหนา และเกลี้ยงเป็นมัน ดอกสีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆตามง่ามใบ และเหนือรอยแผลใบ ตอนปลายๆกิ่ง ผลรูปกรวยแหลม ขนาด ๗ x ๑๐ มม. ปลายสุดเป็นหนามแหลม มีปีกรูปใบพาย ๒ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลออกเหลืองอมเขียว แก่กว่าสีกระพี้เล็กน้อย สีใกล้เคียงกับไม่ตะเคียนทอง เมื่อถูกอากาศนานๆ สีจะคล้ำลงเล็กน้อย เสี้ยนตรง เนื้อค่อนข้างละเอียด แข็ง เหนียว เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งไม่สู้ยากรัก ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๙ (๑๖.๘%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๔๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๐๖ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๒๗,๓๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๔.๘๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา กระดานพื้น คาน คร่าว ด้ามเครื่องมือ และสิ่งปลูกสร้างทั่วไป ฯลฯ เปลือก ต้มกับเกลือ อมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และใช้ชะล้างบาดแผลเรื้อรัง แก่น ใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ใช้ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล