All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2803]
 
ตะเคียนทอง
Hopea odorata
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ตะเคียนทอง (Hopea odorata Roxb. )  [2803]
DIPTEROCARPACEAE
Thingan , Sace , Takian , Malaba Ironwood
 
  ตะเคียนทอง,ตะเคียน,ตะเคียนใหญ่(ภาคกลาง),ไพร(ละว้า เชียงใหม่), กะกี้,โกกี้(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),แคน(ตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน(ภาคเหนือ),จูเค้,โซเก(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ตะเคียนทอง(Hopea odorata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ตะเคียนทอง(Hopea odorata) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2803]
ตะเคียนทอง ( Hopea odorata)
DIPTEROCARPACEAE
ตะเคียนทอง,ตะเคียน,ตะเคียนใหญ่(ภาคกลาง),ไพร(ละว้า เชียงใหม่), กะกี้,โกกี้(กระเหรี่ยง เชียงใหม่),แคน(ตะวันออกเฉียงเหนือ), จะเคียน(ภาคเหนือ),จูเค้,โซเก(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่กกระจัดกระจายตามที่ราบ หรือค่อนข้างราบใกล้ฝั่งน้ำ ในป่าดงดิบทั่วประเทศ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๔๐ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ กลม หรือรูปเจดีย์ต่ำๆ เปลือกหนา สีน้ำตาลดำ แตกเป็นสะเก็ด กระพี้ สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ ขนาด ๓-๖ x ๑๐-๑๔ ซม. เนื้อค่อนข้างหนา ปลายเรียว โคนมนป้านและเบี้ยว ดอกสีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นยาวๆตามง่ามใบและปลายกิ่ง มีกลิ่นหอม ก้านช่อดอก ก้านดอก และกลีบรองกลีบดอกมีขนนุ่ม กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลกลม หรือรูปไข่ เกลี้ยง ปลายมน เป็นติ่งคล้ายหนามแหลม ขนาดโตเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖ มม. ยาว ๑๐ มม. มีปีกรูปใบพายยาว ๑ คู่
ลักษณะเนื้อไม้
สีเหลืองหม่น หรือสีน้ำคาลอมเหลือง มักมีเส้นขาวหรือเทาขาวผ่านเสมอ ซึ่งเป็นท่อน้ำมัน หรือยาง เสี้ยนมักสน เนื้อละเอียดปานกลาง แข็ง เหนียว เด้งตัวได้มาก ทนทาน ทนปลวกได้ดี เลื่อย ไสกบ ตบแต่ง และชักเงาได้ดีมาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๒ (๑๒.๖%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๒๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๗๒ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๒๐,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๔.๗๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๓.๐ – ๑๐.๕ ปี เฉลี่ยประมาณ ๗.๗ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน สะพาน หมอนรองรางรถไฟ รถ เรือต่างๆ เครื่องเรือน ไม้ชนิดนี้ใช้การได้ทุกอย่าง ที่ต้องการความแข็งแรง เหนียว เด้ง และทนทาน ในประเทศไทยนิยมใช้เรือมาด เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol นอกจากนี้ยังใช้ต้มกับเกลืออมป้องกันฟันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และต้มกับน้ำชะล้างบาดแผลเรื้อรัง แก่น ใช้ผสมยารักษาเลือดลม กษัย ดอก เข้าอยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันทารักษาบาดแผล ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้ ยาแนวเรือ และทำน้ำมันชักเงา