All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2800]
 
เคียนราก
Hopea latifolia
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
เคียนราก (Hopea latifolia Syming. )  [2800]
DIPTEROCARPACEAE
 
  เคียนราก(สุราษฎร์ธานี,ระนอง),มาตากูจิง(มลายู ปัตตานี) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: เคียนราก(Hopea latifolia) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: เคียนราก(Hopea latifolia) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2800]
เคียนราก ( Hopea latifolia)
DIPTEROCARPACEAE
เคียนราก(สุราษฎร์ธานี,ระนอง),มาตากูจิง(มลายู ปัตตานี)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นตามป่าดงดิบทางภาคใต้ ที่ค่อนข้างราบ และมีการระบายน้ำดี สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๓๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นค่อนข้างเปลา ตรง โคนเป็นพู มีรากค้ำยัน เปลือกค่อนข้างเรียบ และมักแตกเป็นร่องเล็กๆ ไปตามยาวลำต้น เปลือกอ่อนจะเห็นต่อมระบายอากาศได้ชัด มียางเหนียวๆซึมตามเปลือก เปลือกในสีน้ำตาลอมชมพู กระพี้สีอ่อนกว่าแก่นเล็กน้อย ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปมนกว้างๆ ขนาด ๒-๕ x ๖-๑๓ ซม. โคนมนกว้าง หรือสอบเข้าเล็กน้อย แล้วค่อยๆสอบเข้าไปทางปลาย ปลายสุดหยักเป็นติ่งทู่ๆ เนื้อค่อนข้างบางและเกลี้ยงเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง หรือตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง แต่ละช่อยาวไม่เกิน ๓ ซม. มีดอกช่อละประมาณ ๒-๕ ดอก ผลรูปไข่เกลี้ยงๆ ขนาด ๔ x ๑๐ มม. ปลายเป็นติ่งแหลม มีปีกยาว ๑ คู่
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลออกเหลืองอมเขียว หรือค่อนข้างเขียว หรือเขียวอ่อน หรือสีโศก เสี้ยนสน เนื้อไม้ค่อนข้างละเอียด แข็ง ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก ขัดชักเงาได้ดีพอสมควร
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๐
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๗๖ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๘.๖๓ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๔๗ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๖๖ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๒๙,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๑๓ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๒-๑๒.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๕.๓ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ทำเสา กระดานพื้น ฝา คร่าว รอด ตง แบบหล่อคอนกรีต และการก่อสร้างต่างๆ