All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2798]
 
ตะเคียนหิน
Hopea ferrea
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ตะเคียนหิน (Hopea ferrea Pierre )  [2798]
DIPTEROCARPACEAE
 
  ตะเคียนหิน(ภาคใต้),ตะเคียนหนู(นครราชสีมา),เหลาเตา(สุราษฎร์ธานี,นครศรีธรรมราช), เคียนทราย(ตรัง,ตราด) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ตะเคียนหิน(Hopea ferrea) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ตะเคียนหิน(Hopea ferrea) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2798]
ตะเคียนหิน ( Hopea ferrea)
DIPTEROCARPACEAE
ตะเคียนหิน(ภาคใต้),ตะเคียนหนู(นครราชสีมา),เหลาเตา(สุราษฎร์ธานี,นครศรีธรรมราช), เคียนทราย(ตรัง,ตราด)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ๆในป่าดงดิบ และป่าดิบแล้งตามที่ราบเชิงเขา ที่มีการระบายน้ำดีและขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามสันเขา และที่ราบ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐๐-๓๕๐ เมตร ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ตะวันออก เฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๓๐ เมตร ลำต้นเปลา ตรง และมักบิด โคนอาจเป็นพูต่ำๆ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือรูปกรวยแหลม เปลือกสีน้ำตาลแก่ แตกล่อนเป็นสะเก็ด ห้อยย้อยลง เปลือกในสีเหลืองปนส้ม ไม่มียางซึม ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว รูปไข่แกมรูปหอก ขนาด ๒-๓ x ๖-๙ ซม. โคนมนกว้าง ค่อยๆ เรียวไปทางปลาย ปลายสุดหยักเป็นติ่งทู่ๆ เนื้อค่อนข้างบางเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบแห้งออกสีเขียวอ่อน ดอกสีขาว หรือเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง ขนาดเล็กมาก ดอกตูมโตไม่เกิน ๒ มม. กลีบรองกลีบดอกแยกเป็น ๕ แฉก มีขนประปราย ผลรูปขอบขนาน ขนาด ๓ x ๑๔ มม. ปลายเป็นติ่งแหลม มีขนประปราย และมีปีกยาว ๑ คู่
ลักษณะเนื้อไม้
เมื่อตัดหรือเลื่อยใหม่ๆเป็นสีเหลืองอ่อน ทิ้งไว้นานๆจะกลายเป็นสีน้ำตาลแกมแดง มักมีริ้วสีน้ำตาลแกมเขียว ผ่านทางด้านขวางกับรัศมี เสี้ยนค่อนข้างสน เป็นริ้วแคบเนื้อละเอียด แข็ง ทนทานมาก ถ้ายังสดจะเลื่อย หรือไสกบไม่ยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๗
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๑๔๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๖๐๔ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๖๕,๐๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๕ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๑๐.๔๒ น้ำเย็นร้อยละ ๔.๔๓ น้ำร้อนร้อยละ ๖.๔๐ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๑.๖๕ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๑๙ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๗.๓๕ ลิกนินร้อยละ๒๖.๗๗ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๗.๘๗ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๐.๙๑
ความทนทานตามธรรมชาติ
ไม่น้อยกว่า ๖ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ไม่สามารถอาบน้ำยาด้วยวิธีการตามปกติได้ (ชั้นที่ ๖)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ต่อเรือต่าง เรือขุด เครื่องเรือน กระเบื้องไม้ เสา สะพาน หมอนรองรางรถไฟ และการก่อสร้างอื่นๆ ที่ต้องการความทนทาน และแข็งแรงมาก ทำพื้น ฝา รอด ตง และเครื่องบนได้ทนทานและแข็งแรง ทำเรือใบ โครงเรือเดินทะเล ทำลูกประสัก แจว พาย กรรเชียง เสากระโดงเรือ ส่วนประกอบของเกวียน ด้ามเครื่องมือ และใช้ผสมยารักษาทางเลือดลม กษัย เปลือก ต้มกับเกลือ อมป้องกันหันหลุด เนื่องจากกินยาเข้าปรอท และต้มชะล้างบาดแผลเรื้อรัง ดอก อยู่ในจำพวกเกสรร้อยแปด ผสมยาทิพย์เกสร ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาบาดแผล