All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[253]
 
ทิ้งถ่อน
Albizia procera
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ทิ้งถ่อน (Albizia procera Benth. ) T [253]
MIMOSACEAE
White Siris , Kokko , Sit
 
  ทิ้งถ่อน, ถ่อน(กลาง); ควะ, เยกิเด๊าะ(กะเหรี่ยง แม่ฮองสอน); เชอะบ้อง, ซะบ้อง, เส่บ้อง(กะเหรี่ยง แม่ฮองสอน); ส่วน(เชียงใหม่, เลย) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ทิ้งถ่อน(Albizia procera) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ทิ้งถ่อน(Albizia procera) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[253]
ทิ้งถ่อน ( Albizia procera)
MIMOSACEAE
ทิ้งถ่อน, ถ่อน(กลาง); ควะ, เยกิเด๊าะ(กะเหรี่ยง แม่ฮองสอน); เชอะบ้อง, ซะบ้อง, เส่บ้อง(กะเหรี่ยง แม่ฮองสอน); ส่วน(เชียงใหม่, เลย)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ เป็นแนวประปราย ในป่าเบญจพรรณ หรือป่าหญ้าตอนลุ่มทางภาคกลาง บางจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือ และพบขึ้นอยู่ห่างๆ กันบนภูเขาที่สูงประมาณ ๕๐๐-๘๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกสีเทาอมน้ำตาล หรือเทาอมเหลือง หรือสีขาวแกมเขียว มีรอยด่างสีน้ำตาลกระจัดกระจายทั่วไปตามลำต้น ลำต้นเปลา ตรง เรือนยอดโปร่ง ขณะแตกใบอ่อนเรือนยอดสีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลอมแดง ตามยอดและกิ่งอ่อนมีขนบางๆเล็กน้อย เมื่อแก่จะหลุดร่วงไปหมด เปลือกในสีแดง ใบเป็นช่อยาว ๓๐-๔๕ ซม. บนแกนช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ๔-๑๑ คู่ ยาว ๑๕-๒๐ ซม. แต่ละช่อมีใบย่อย ๕-๑๐ คู่ รูปรี เบี้ยวๆ คล้ายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนมนเบี้ยว ปลายมน หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียดประปราย ดอกเล็ก สีขาว ไม่มีก้านดอก ขึ้นอัดแน่นบนแกนช่อดอกรูปทรงกลม บนก้านช่อยาวประมาณ ๑-๒ ซม. แต่ละช่อรวมเป็นช่อใหญ่ ออกตามง่ามใบที่ปลายกิ่ง หรือใกล้ปลายกิ่ง ผลเป็นฝักสีน้ำตาล รูปบรรทัด บาง และแบนเรียบ กว้าง ๒-๓ ซม. ยาว ๑๐-๑๕ ซม. หัวแหลมท้ายแหลม เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีฝักละ ๖-๑๒ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาล ถึงน้ำตาลแก่ มีเส้นสีอ่อนหรือแก่สลับ เสี้ยนมักสน หรือเป็นคลื่นน้อยๆ หรือเป็นริ้วสลับ เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ เหนียว แข็งแรง ทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๓
สกายสมบัติ
มีอัตราการยืดหดตัวทางด้านรัศมีประมาณร้อยละ ๓.๑๗ ทางด้านสัมผัสประมาณร้อยละ ๖.๙๘ ทางด้านยาวตามเสี้ยนประมาณร้อยละ ๐.๒๓
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๑๐ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๐๖ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๓,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ รถ เรือ เครื่องแกะสลัก ลูกหีบ เครื่องบีบน้ำมัน เครื่องมือกสิกรรม เครื่องเรือนทำพื้น ฝา รอด ตง อกไก่ เครื่องบน ทำคานเกวียน เพลาเกวียน ครก สาก กระเดื่อง ฟันสีข้าว ถังไม้ แจวพาย กรรเชียง พานท้ายและรางปืน เป็นไม้ที่สวยงามและมีลักษณะคล้ายไม้พฤกษ์ หรือมะรุมป่า ควรใช้แทนกันได้ รับประทานเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้บิด เป็นยาสมานและเป็นยาเจริญอาหาร ขับผายลม บำรุงธาตุ ภายนอกเป็นยาห้ามเลือด ชะล้างบาดแผล สมานแผล เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol ใช้ย้อมผ้า แห อวน หนัง