All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม: ยังไม่ได้เลือกกลุ่ม LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[252]
 
กางขี้มอด
Albizia odoratissima
LFG
 
 
     
 
เลือกกลุ่ม
ไม้และของป่าบางชนิดในประเทศไทย
LFG
 
     
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
กางขี้มอด (Albizia odoratissima Benth. ) T [252]
MIMOSACEAE
Black Siris, Ceylon Rose Wood
 
  กางขี้มอด(เชียงใหม่); กางแดง(ลพบุรี, แพร่); คางแดง(แพร่); จันทน์(ตาก); มะขามป่า(น่าน) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: กางขี้มอด(Albizia odoratissima) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: กางขี้มอด(Albizia odoratissima) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[252]
กางขี้มอด ( Albizia odoratissima)
MIMOSACEAE
กางขี้มอด(เชียงใหม่); กางแดง(ลพบุรี, แพร่); คางแดง(แพร่); จันทน์(ตาก); มะขามป่า(น่าน)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ตามป่าเบญจพรรณชื้น และแล้ง พบมากทางภาคเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ สีเขียวเข้ม เปลือกสีเทาอมเหลืองถึงสีน้ำตาลอ่อน มีรอยย่นเป็นริ้วตามแนวนอนเป็นจำนวนมากไม่เป็นระเบียบ เกือบจะรอบลำต้น กิ่งอ่อนมีขนละเอียด สีน้ำตาลเหลืองทั่วไป พอแก่จะร่วงหลุดไปหมด ใบเป็นช่อยาว ๑๐-๓๐ ซม. ช่อใบมีขนบางๆ หรือเกลี้ยง มีช่อแขนงด้านข้าง ๒-๘ คู่ แต่ละช่อมีใบย่อย ๖-๒๔ คู่ รูปขอบขนานแคบๆ ขนาด ๑.๘-๒.๕ ซม. ตัวใบเบี้ยวไม่มีก้านใบ ปลายมนหรือเป็นติ่งแหลมสั้นๆ อยู่ตรงกลาง โคนมน เบี้ยว ไม่ได้สัดส่วน หลังใบเกลี้ยง สีเขียวเข้ม ท้องใบอาจมีขนประปรายตามเส้นกลางใบ หรือเกลี้ยง ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมเย็น ออกเป็นช่อกลมตามช่อแขนงบนแก่นช่อใหญ่ที่ปลายกิ่ง ปลายกลีบดอกแยกออกเป็น ๕ แฉก รูปใบหอกแกมรูปไข่ ผลเป็นฝักสีน้ำตาลแดง รูปบรรทัดบางและแบนเรียบ ปลายฝักมนหรือแหลม เป็นติ่งยาว เมล็ดแบน รูปรีๆ มีฝักละ ๖-๑๒ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลถึงน้ำตาลแก่ มีเส้นสีอ่อน และสีแก่กว่าพื้นสลับ เสี้ยนสน เนื้อหยาบ เลื่อย ผ่า ตบแต่งค่อนข้างยาก ขัดและชักเงาได้ดี ผึ่งแห้งได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๓
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๑๐ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๐๐๖ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๐๓,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๒๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ประมาณ ๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเครื่องเรือนที่ดี เครื่องใช้ เครื่องเกวียน เช่น คาน ดุม เพลา ฯลฯ และการก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน ใช้ทำพื้น รอด ตง อกไก่ ทำเรือโปง ครก สาก กระเดื่อง ถังไม้ พานท้ายและรางปืน เปลือก มีรสฝาดเฝื่อน รับประทานแก้ท้องร่วง แก้ตกโลหิต แก้บวม แก้ฝี แก้พยาธิ แก้ลำไส้พิการ บำรุงธาตุ ฝนทักษาโรคเรื้อน แผลเน่าเปื่อยเรื้อรัง และทาฝี และให้สีน้ำตาล ใช้ย้อมผ้า และหนัง ใบ แก้ไอ