|
|
|
|
|
พะวา
(Garcinia speciosa Wall. ) [2485]
GUTTIFERAE
|
|
|
พะวา,กะวา(สุราษฎร์ธานี),ขวาด(เชียงราย),ชะม่วง(พิจิตร),มะระขี้นก(เชียงใหม่), มะป่อง(ภาคเหนือ),วาน้ำ(ตรัง),สารภีป่า(ภาคกลาง,เชียงใหม่), กวักไหม,หมากกวัก(หนองคาย)
LFG
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
[2485] พะวา ( Garcinia speciosa) GUTTIFERAE พะวา,กะวา(สุราษฎร์ธานี),ขวาด(เชียงราย),ชะม่วง(พิจิตร),มะระขี้นก(เชียงใหม่), มะป่อง(ภาคเหนือ),วาน้ำ(ตรัง),สารภีป่า(ภาคกลาง,เชียงใหม่), กวักไหม,หมากกวัก(หนองคาย)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าดงดิบทางภาคเหนือ และภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๘-๑๕ เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หรือรูปเจดีย์ต่ำๆ ลำต้นเปลา ตรง กิ่งแขนงตั้งฉากกับลำต้น ส่วนปลายที่กิ่งมักย้อยลง ใบรูปขอบขนาน หรือขอบขนานแกมรูปหอก ขนาด ๕.๐-๗.๕ x ๑๐-๑๕ ซม. โคนมน ปลายสอบเรียว ดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างดอกกัน ดอกเพศผู้สีเขียวอ่อน ออกเป็นกระจุก ๓-๙ ดอก ตามปลายกิ่ง กลีบดอกเป็นรูปไข่ ดอกเพศเมียมักออกเป็นดอกเดี่ยวๆ กลีบเหมือนดอกเพศผู้ ผลกลมหรือกลมรีๆ ผลแก่สีแดงแก่ หรือแดงปนม่วง |
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลถึงน้ำตาลแกมแดง เสี้ยนสน เนื้อหยาบ แข็ง เหนียว เลื่อย ไสกบตบแต่งได้ยาก เมื่อแห้งแล้วควรทำในขณะที่ยังสด เป็นไม้ที่แข็งแรง ทนทาน แต่ผึ่งให้แห้งยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๓ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๐๙๖ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๓๔ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๓๕,๘๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๒.๐๘ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา หลักเข็ม กระดานพื้น รอด คาน และตง แจว พาย กรรเชียง ครก สาก กระเดื่อง ไม้คาน ทำลูกหีบ ฟันสีข้าว เพลาเกวียน ด้ามเครื่องมือ ด้ามหอก มีลักษณะคล้ายไม้สะทิต ควรใช้ร่วมกันได้ |
|
|