All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:สวนป่าเบญจกิตติ LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[247]
 
พฤกษ์
Albizia lebbeck
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
พฤกษ์ (Albizia lebbeck Benth. ) T [247]
MIMOSACEAE
Siris , Kokko , Indian Walnut
 
  พฤกษ์, ก้านปู, ชุงรุ้ง(กลาง); กะซึก(กลาง, พิจิตร); กาแซ, กาไพ, แกร๊ะ(สุราษฎร์ธานี); ก้านฮุ้ง(ชัยภูมิ); กรีด(กระบี่); คะโก(กลาง); จะเร(เขมร ปราจีนบุรี); จ๊าขาม(เหนือ); จามจุรี, จามรี, ซึก(กรุงเทพฯ); ตุ LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: พฤกษ์(Albizia lebbeck) LFG
 
   
   
 
บทความ: พฤกษ์(Albizia lebbeck) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[247]
พฤกษ์ ( Albizia lebbeck)
MIMOSACEAE
พฤกษ์, ก้านปู, ชุงรุ้ง(กลาง); กะซึก(กลาง, พิจิตร); กาแซ, กาไพ, แกร๊ะ(สุราษฎร์ธานี); ก้านฮุ้ง(ชัยภูมิ); กรีด(กระบี่); คะโก(กลาง); จะเร(เขมร ปราจีนบุรี); จ๊าขาม(เหนือ); จามจุรี, จามรี, ซึก(กรุงเทพฯ); ตุ
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณชื้น และแล้ง ทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ และภาคกลาง
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกขรุขระ สีเทาแก่ หรือสีน้ำตาลแตกเป็นร่องยาว เปลือกในสีแดงเลือดนก กระพี้สีขาว แยกจากแก่นเห็นได้ชัด กิ่งอ่อนเกลี้ยง หรือมีขนละเอียดประปราย ใบออกเป็นช่อ แกนช่อใบยาวถึง ๒๐ ซม. บนแกนช่อมีช่อแขนงด้านข้าง ๒-๔ คู่ ยาว ๕-๑๐ ซม. แต่ละแขนงมีใบย่อย ๔-๙ คู่ ไม่มีก้าน รูปรีถึงรูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปไข่กลับ กว้าง ๑.๐-๒.๕ ซม. ยาว ๒.๒-๔.๐ ซม. ปลายมน โคนกลมหรือเบี้ยว หลังใบเกลี้ยง ท้องใบมีขนละเอียดที่บริเวณเส้นกลางใบ หรือเกลี้ยงไม่มีขน ดอกเป็นช่อกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง ๔ ซม. สีขาว กลิ่นหอม ก้านช่อดอกยาว ๕-๑๐ ซม. ออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง ๑-๔ ช่อ ผลเป็นฝักรูปบรรทัด แบนและบาง กว้าง ๒.๓-๕.๐ ซม. ยาว ๑๐-๓๐ ซม. สีเทาอมเหลือง หรือสีฟางข้าว ผิวเกลี้ยงเป็นมัน ไม่มีขน เมล็ดรูปไข่ มี ๔-๑๒ เมล็ด
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม เป็นมันเลื่อม มีเส้นสีอ่อนหรือสีแก่กว่าสีพื้นสลับ เสี้ยนสน หรือเป็นคลื่นเบา หรือเป็นริ้วเนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ เหนียว แข็ง แข็งแรง และทนทานปานกลาง เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย ขัดชักเงาได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๒
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๖๘๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๖๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๒๕,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๐๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๕ ปี
การอาบน้ำยาไม้
เฉลี่ยประมาณ ๕ ปี
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างต่างๆ ทำเสา รถ เรือ เครื่องแกะสลัก ลูกหีบน้ำมัน เครื่องมือกสิกรรม ไม้ถือ ทำเครื่องเรือนชั้นดี ทำบัวประกบฝา พานท้ายเรือ พื้น รอด ตง คาน ไถ ทำดุม ซี่ล้อเกวียน ตัวถังรถและเกวียน ลักษณะคล้ายไม้ถ่อน ควรใช้แทนกันได้ดี เปลือกและเมล็ด มีรสฝาดเป็นยาสมาน เช่น รักษาแผลในปากและลำคอ เหงือกหรือฟันผุ รักษาริดสีดวงทวารหนัก แก้ท้องร่วง ห้ามโลหิตตกใน ใบ มีสรรพคุณเย็น ใช้ในการดับพิษ เมล็ด ใช้รักษากลากเกลื้อน และโรคเรื้อน อินเดียใช้ทำยารักษาเยื่อตาอักเสบ เปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol และ Catechol