|
|
|
|
|
[24] แฉลบขาว ( Acacia harmandiana) MIMOSACEAE แฉลบขาว(ราชบุรี), กระถินป่า, ปี้มาน(เหนือ), พิมาน,มะขี้มาน(เหนือ,ตะวันออกเฉียงเหนือ)
|
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นกระจัดกระจายอยู่ตามป่าเบญจพรรณโปร่ง และป่าละเมาะที่ค่อนข้างแห้งแล้งทั่วไป เว้นแต่ทางภาคใต้ |
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเตี้ยแจ้ สูงประมาณ ๑๐-๒๐ เมตร ผลัดใบแตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นมีหนามแหลมแข็งทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมแผ่กว้าง เปลือกสีเทาอ่อนออกขาว อาจมีรอยบุ๋มเป็นแอ่งตื้นๆเล็กน้อย ใบเป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ยาว ๑๐-๑๖ ซม. ช่อหนึ่งมีช่อแขนง ๓-๔ คู่ แตกออกตรงข้ามกัน แต่ละแขนงมีใบย่อย ๔-๑๐ คู่ ไม่มีก้าน รูปลักษณะแตกต่างกัน ตั้งแต่รูปขอบขนานแคบๆ ขนาด ๕-๑๕ x ๑๕-๔๕ มม. จนถึงรูปไข่ขนาด ๑๒-๑๘ x ๒๓-๓๔ มม. รูปเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายมนมีติ่งแหลมสั้นๆ โคนแหลมหรือสอบมน ค่อนข้างเบี้ยว ดอกสีขาว ขนาดเล็กมาก อัดแน่นอยู่บนช่อกลมเล็กๆ ดอกโต เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๕ มม. ช่อดอกออกตามปลายกิ่งและตามกิ่งแขนง แต่ละช่อมีดอกจำนวนมาก ช่อดอกมีขนละเอียด สีเหลืองทั่วไป ผลเป็นฝักแบน รูปบรรทัด กว้าง ๗-๑๑ มม. ยาว ๘-๑๓ มม. โค้งเล็กน้อย เมื่อแก่เต็มที่จะโค้งหรือบิดงอมากขึ้น ฝักสีน้ำตาลคล้ำ ไม่มีขน |
ลักษณะเนื้อไม้
สีแดงแก่ หรือสีอิฐ แต่พอนานไปจะกลายเป็นสีน้ำตาลปนแดง มีริ้วสีอ่อนกว่าสีพื้นประปราย เสี้ยนสน เนื้อหยาบแข็ง เหนียว ทนทานดี เลื่อย ผ่า ไสกบ ตบแต่งค่อนข้างยาก |
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๖ |
สกายสมบัติ
|
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๑,๒๐๐ กก.
ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๔๒๙ กก. / ตร.ซม.
ความดื้อ ประมาณ ๑๐๕,๐๐๐ กก. / ตร.ซม.
ความเหนียว ประมาณ ๔.๓๓ กก.-ม.
|
เคมีสมบัติ
|
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๑๖ ปี เฉลี่ยประมาณ ๑๑.๑ ปี |
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒) |
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำเสา กระดานพื้น รอด ตง เครื่องเรือน ทำรถ เกวียน ไถ คราด ไม้บุผนังที่สวยงาม ด้ามเครื่องมือ เป็นไม้ที่ทนแดดทนฝนได้ดี
ทางยาใช้สมานแผล ห้ามเลือด รับประทานแก้ท้องร่วง อาเจียน แก้อติสาร ลงแดง
เปลือก มีน้ำฝาดชนิด Pyrogallolและ Catechol
|
|
|