All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[236]
 
มะยมป่า
Ailanthus triphysa
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
มะยมป่า (Ailanthus triphysa Alston ) T [236]
SIMAROUBACEAE
-
 
  มะยมป่า(กลาง, เหนือ); กอมขน, หมักกอม(เชียงใหม่); ดีงูต้น, แตงกวา(อุตรดิตถ์); มะแง่ม(นครสวรรค์); มะยมหอม(ชลบุรี); ยมป่า(ยะลา); ยมผา(เหนือ); ยมหยวก, ยมหางไก่(ตาก); หมูสี, โอโลด(ลำปาง, แพร่) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: มะยมป่า(Ailanthus triphysa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: มะยมป่า(Ailanthus triphysa) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[236]
มะยมป่า ( Ailanthus triphysa)
SIMAROUBACEAE
มะยมป่า(กลาง, เหนือ); กอมขน, หมักกอม(เชียงใหม่); ดีงูต้น, แตงกวา(อุตรดิตถ์); มะแง่ม(นครสวรรค์); มะยมหอม(ชลบุรี); ยมป่า(ยะลา); ยมผา(เหนือ); ยมหยวก, ยมหางไก่(ตาก); หมูสี, โอโลด(ลำปาง, แพร่)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นประปรายอยู่ในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณทั่วไป ทางภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๑๕-๒๕ เมตร ลำต้นมียางสีขาว ยอดอ่อนและก้านช่อใบมีขนละเอียดสีน้ำตาลคลุมทั่วไป ใบเป็นช่อรูปขนนก ยาวประมาณ ๔๕-๕๕ ซม. มักจะรวมกันอยู่เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยอยู่เยื้องสลับกันเล็กน้อย มีกว่า ๑๐ คู่ขึ้นไป รูปบรรทัดแกมรูปหอก หรือรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด ๒.๗-๔.๕ x ๙-๑๔ ซม. ปลายแหลม ท้องใบมีขนอ่อนนุ่มสีน้ำตาลเหลืองอยู่หนาแน่น เป็นมันคล้ายเส้นไหม หลังใบมีขนประปราย ดอกออกเป็นช่อ แบบกลุ่มย่อย ตามง่ามปลาย ช่อดอกยาวประมาณ ๓๕-๔๕ ซม. มีขนประปราย กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลขนาด ๑.๒-๑.๔ x ๕.๒-๕.๖ ซม. มีปีกยาวล้อมรอบคล้ายรูปกระสวย แต่แบนราบ
ลักษณะเนื้อไม้
เป็นไม้ไม่มีแก่น เมื่อเลื่อยออกใหม่ๆสีขาว พอถูกอากาศนานๆเข้า สีชักนวล หรือเป็นสีเหลืองอ่อนๆ เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ เหนียว อ่อน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๔๗ (๑๑.๘%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๒๕๘ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๕๔๕ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๘๗,๓๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๐.๙๗ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๐.๕-๑.๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๐.๗ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่ายมาก (ชั้นที่ ๑)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ทำก้าน และกลักไม้ขีดไฟ ทำหีบใส่ของ เยื่อกระดาษ ไม้จิ้มฟัน เครื่องเล่นสำหรับเด็ก