All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2036]
 
ยางพลวง
Dipterocarpus tuberculatus
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยางพลวง (Dipterocarpus tuberculatus Roxb. )  [2036]
DIPTEROCARPACEAE
Eng , Gurjan , Pluang
 
  ยางพลวง,พลวง(ภาคกลาง),พลอง(ส่วย สุรินทร์),แลเท้า(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), สาละออง(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),กุง(อุบลราชธานี,อุดรธานี),เกาะสะแต้ว, สะเติ่ง(ละว้า เชียงใหม่),คลง(เขมร บุรีรัมย์),คลอง(เขมร) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยางพลวง(Dipterocarpus tuberculatus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยางพลวง(Dipterocarpus tuberculatus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2036]
ยางพลวง ( Dipterocarpus tuberculatus)
DIPTEROCARPACEAE
ยางพลวง,พลวง(ภาคกลาง),พลอง(ส่วย สุรินทร์),แลเท้า(กระเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน), สาละออง(กระเหรี่ยง กาญจนบุรี),กุง(อุบลราชธานี,อุดรธานี),เกาะสะแต้ว, สะเติ่ง(ละว้า เชียงใหม่),คลง(เขมร บุรีรัมย์),คลอง(เขมร)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆในป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วไป ในที่ลาดต่ำ ใกล้ลำห้วย หรือที่ชุ่มชื้น ทั้งทางภาคเหนือ ตะวันออก ตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง แต่มีมากทางจังหวัดภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง กิ่งอ่อนมีรอยแผลใบเห็นชัด เปลือกหนา สีน้ำตาลปนเทาอ่อน เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งแขนงมักคดงอ ใบรูปไข่ ขนาด ๑๕-๒๘ x ๑๕-๔๐ ซม. เนื้อหนา เกลี้ยง หรือมีขนกระจายห่างๆ โคนหยักเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายสอบ ใบอ่อนสีน้ำตาลแกมแดง กาบหุ้มยอดอ่อนมีขนสั้นๆสีเทา ดอกสีม่วงแดง ออกเป็นช่อเดี่ยวๆตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ผิวนอกของกาบหุ้มช่อดอกอ่อนมีขนยาวหนาแน่น กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลรูปกรวย ส่วนที่ติดกับปีกพองโตเป็นพู ๕ พู แล้วค่อยๆสอบเรียวไปสู่ขั้ว มีปีกยาว ๒ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลแกมแดง เมื่อทิ้งไว้นานสีจะเข้มขึ้น เสี้ยนตรงพอประมาณ เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็ง ใช้กรำแดด กรำฝน ไม่สู้จะทนนัก ถ้าใช้ในร่มทนทานดี เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๙ (๑๓%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๓๕ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๙๗ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๓๑,๙๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๓๔ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๔.๕๔ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๑๘ น้ำร้อนร้อยละ ๔.๓๐ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๐.๘๑ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๑.๒๘ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๓.๙๙ ลิกนินร้อยละ ๒๘.๓๘ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๘.๒๙ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๖๐.๑๘
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๑๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๗.๑ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ขื่อ รอด ตง พื้น ฝา และเครื่องบน เครื่องมือกสิกรรม แจว พาย กรรเชียง ครก สาก กระเดื่อง ตัวถังเกวียน เสาโป๊ะ ทำหูก กั้นบ่อน้ำ ร่องน้ำและกังหันน้ำ หีบใส่ของ กระเบื้องไม้ ลักษณะคล้ายไม้ยาง และเหียง ใช้แทนกันได้ เมื่ออาบน้ำยาแล้ว ใช้ทำเสาไฟฟ้า โทรเลข โทรศัพท์ และหมอนรองรางรถไฟได้ดี ใบ ใช้เผาไฟแทรกน้ำปูนใส รับประทานแก้บิดมูกเลือด ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ ที่เรียกว่า “ตองตึง” เย็บเป็นตับ ใช้มุงหลังคา และทำฝา ใช้ห่อยาสูบ และห่อของสดแทนใบกล้วย ชัน ที่ได้จากการเจาะต้น ใช้ยาแนวไม้ และทำไต้