All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2035]
 
ยางเหียง
Dipterocarpus obtusifolius
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยางเหียง (Dipterocarpus obtusifolius Teijsm. ex Miq. )  [2035]
DIPTEROCARPACEAE
 
  กราด (สุโขทัย) เกาะสะเตียง (ละว้าเชียงใหม่) คร้าด (โซ้นครพนม) ซาด (อุดรธานี อุบลราชธานี) ตะหลาอ่ออามื่อ ล่าทะย่อง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะแบง ตะแบง (นครราชสีมา อุบลราชธานี) ตราด (พิษณุโลก เลย จันทบุรี) ยางเหียง (ราชบุรี) สละอองโว (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) เห่ง LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยางเหียง(Dipterocarpus obtusifolius) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยางเหียง(Dipterocarpus obtusifolius) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2035]
ยางเหียง ( Dipterocarpus obtusifolius)
DIPTEROCARPACEAE
กราด (สุโขทัย) เกาะสะเตียง (ละว้าเชียงใหม่) คร้าด (โซ้นครพนม) ซาด (อุดรธานี อุบลราชธานี) ตะหลาอ่ออามื่อ ล่าทะย่อง (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) สะแบง ตะแบง (นครราชสีมา อุบลราชธานี) ตราด (พิษณุโลก เลย จันทบุรี) ยางเหียง (ราชบุรี) สละอองโว (กะเหรี่ยงกาญจนบุรี) เห่ง
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วประทศ แต่มีมากทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๘-๒๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา สีน้ำตาล แตกเป็นสะเก็ดหนาๆ และเป็นร่องลึกตามยาวลำต้น เรือนยอดเป็นพุ่มกลมหนา กระพี้สีขาวปนเหลือง แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่ขนาด ๑๐-๒๐ x ๑๓-๑๕ ซม. ปลายมน โคนสอบ หรือหยักตื้นๆ เนื้อหนา มีขนสีน้ำตาลหนาแน่น พื้นใบจีบเป็นร่องแบบรางน้ำ หลังใบแก่ค่อนข้างเกลี้ยง ท้องใบมีขนห่างๆ ก้านใบมีขนสีน้ำตาลยาวๆทั่วไป ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบตอนปลายกิ่ง ปลายกลีบรองดอกแยกเป็น ๕ แฉก กลีบดอกมี ๕ กลีบ โคนประสาทติดกัน ผลกลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๓ ซม.
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาล หรือแดงอ่อน ถึงน้ำตาลปนแดง เสี้ยนค่อนข้างตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอ แข็ง เลื่อย ผ่า ตบแต่งง่าย ใช่ในร่มทนทานดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๙๐
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๑๖ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๓๕,๕๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๐๐ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๕.๖๐ น้ำเย็นร้อยละ ๓.๒๒ น้ำร้อนร้อยละ ๓.๖๙ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๒๒.๒๓ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๖๗ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๔.๐๓ ลิกนินร้อยละ ๒๗.๕๕ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๖๙.๒๒ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๖๓.๐๔
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒.๐-๑๘.๔ ปี เฉลี่ยประมาณ ๘.๘ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยาก (ชั้นที่ ๔)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างทั่วไป เมื่ออาบน้ำยาแล้วใช้ทำไม้เสาไฟฟ้า เสาโทรเลข-โทรศัพท์ และหมอนรองรางรถไฟได้ดี มีลักษณะเหมือนไม้พลวง กราด และยาง ควรใช้ร่วมกันได้ ใช้ทำพื้น ฝา รอด ตง และเครื่องบน ทำหูก น้ำมัน ที่ได้จากต้น ใช้ทาไม้ ยาวแนวเรือ และทำไต้ ใบ ใช้เย็บเป็นตับสำหรับมุงหลังคา และทำฝาบ้านเรือน โรงต่างๆ