All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2031]
 
ยางกราด
Dipterocarpus intricatus
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยางกราด (Dipterocarpus intricatus Dyer )  [2031]
DIPTEROCARPACEAE
Yang
 
  ยางกราด(สระบุรี),ลาง(ชลบุรี),เหียงกราด(ราชบุรี,เพชรบุรี),เหียงน้ำมัน(ราชบุรี) เหือง(ระนอง),กราด,ตาด(นครราชสีมา),กร้าย(ส่วย สุรินทร์),ชะแบง(สุรินทร์), ตรายด์(เขมร-ส่วย สุรินทร์) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยางกราด(Dipterocarpus intricatus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยางกราด(Dipterocarpus intricatus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2031]
ยางกราด ( Dipterocarpus intricatus)
DIPTEROCARPACEAE
ยางกราด(สระบุรี),ลาง(ชลบุรี),เหียงกราด(ราชบุรี,เพชรบุรี),เหียงน้ำมัน(ราชบุรี) เหือง(ระนอง),กราด,ตาด(นครราชสีมา),กร้าย(ส่วย สุรินทร์),ชะแบง(สุรินทร์), ตรายด์(เขมร-ส่วย สุรินทร์)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ตามป่าเบญจพรรณแล้ง และป่าแดงทั่วไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๕๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ สูง ๒๐-๓๐ เมตร ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกหนา ๒-๓ เซนติเมตร สีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นสะเก็ด และเป็นร่องตามยาวลำต้น เรือนยอดกลมทึบ กระพี้สีขาวนวล แยกจากแก่นเห็นได้ชัด ใบรูปไข่ กว้าง ๑๐-๒๐ ซม. ยาว ๑๕-๒๕ ซม. โคนหยักลึกเป็นรูปหัวใจ ค่อยๆสอบไปทางปลายใบ เนื้อหนา มีขนสีเทาเป็นกระจุกๆทั่วไป โดยเฉพาะด้านท้องใบ ดอกสีชมพูแก่ ออกเป็นช่อเดี่ยวๆ ตามง่ามใบตอบปลายๆกิ่ง ผลแข็ง มีกลีบบางๆ ขยุกขยิก สีแดง หักพับเป็นชั้นๆ ลงมาตามยาวของผล
ลักษณะเนื้อไม้
แก่นสีน้ำตาลแก่ หรือสีน้ำตาลอมแดง มีริ้วสีแก่กว่าพื้น เสี้ยนสน เนื้อหยาบพอประมาณ แข็ง เหนียว ใช้ในร่ม ทนทานดี เลื่อย ไสกบ ตบแต่งไม่ยาก
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๗ (๑๔%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๗๕๓ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๙๖๙ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๒,๖๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๓.๐๓ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๒-๓ปี เฉลี่ยประมาณ ๒ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ยากมาก ( ชั้นที่ ๕ )
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทำพื้น ฝา ฯลฯ และการก่อสร้างอื่นๆ ลักษณะเหมือนไม้ยาง เหียงและพลวง ควรใช้ร่วมกันได้ น้ำมัน น้ำมันกราดที่ได้จากต้น ใช้ทำน้ำมันใส่แผล และโรคเรื้อน รับประทานรักษาโรคหนองใน นอกจากนี้ยังใช้ทำไต้ ทาไม้ ยาเรือ ทาเครื่องจักสาน