All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:บัญชีไม้พรบ.2535 LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2027]
 
ยางกล่อง
Dipterocarpus dyeri
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยางกล่อง (Dipterocarpus dyeri Pierre )  [2027]
DIPTEROCARPACEAE
Yang
 
  ยางกล่อง(จันทบุรี,ระนอง),ยางร่วง,ยางร่อง(จันทบุรี,ตราด),เยี่ยง(เขมร บุรีรัมย์), ยูงดำ(ชุมพร,กระบี่),ยูงเหียง(สุราษฎร์ธานี),อีโต้(สตูล) LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยางกล่อง(Dipterocarpus dyeri) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยางกล่อง(Dipterocarpus dyeri) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
[2027]
ยางกล่อง ( Dipterocarpus dyeri)
DIPTEROCARPACEAE
ยางกล่อง(จันทบุรี,ระนอง),ยางร่วง,ยางร่อง(จันทบุรี,ตราด),เยี่ยง(เขมร บุรีรัมย์), ยูงดำ(ชุมพร,กระบี่),ยูงเหียง(สุราษฎร์ธานี),อีโต้(สตูล)
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นอยู่เป็นหมู่ตามพื้นที่ราบในป่าดงดิบชื้น ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดสูงใหญ่ ลำต้นเปลา ตรง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ทึบ เปลือกนอกสีเทาถึงน้ำตาลดำ มีรูระบายอากาศ และแตกเป็นสะเก็ดทั่วไป เปลือกชั้นในสีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนเหลือง ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ใหญ่มาก รูปไข่ เกลี้ยง ดอกสีแดงเรื่อๆ ออกเดี่ยวๆ หรือรวมกันเป็นช่อๆละ ๒-๓ ดอก ผลกลมรี รูปกระสวย ส่วนที่ค่อนไปทางปีกจะมีสัน ๕ สัน มีปีกยาวสีน้ำตาลแดง ๒ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลไหม้อ่อนๆ เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ และด้าน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งง่าย
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๘๑
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๕๒๘ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๑,๑๗๘ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๑๖๘,๓๔๕ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๕๑ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
มีปริมาณสารละลายในแอลกอฮอล์-เบนซินร้อยละ ๓.๑๓ น้ำเย็นร้อยละ ๒.๐๙ น้ำร้อนร้อยละ ๔.๖๙ และโซเดียมไฮดรอกไซด์ ๑% ร้อยละ ๑๖.๖๐ มีปริมาณขี้เถ้าร้อยละ ๐.๕๕ เพ็นโตซานร้อยละ ๑๕.๓๙ ลิกนินร้อยละ๒๘.๓๑ โฮโลเซลลูโลสร้อยละ ๗๐.๐๐ เซลลูโลส (คร็อสส์และบีแวน) ร้อยละ ๕๒.๕๐
ความทนทานตามธรรมชาติ
เฉลี่ยประมาณ ๔ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ มีลักษณะเช่นเดียวกับไม้ยางชนิดอื่นๆที่อยู่ในสกุลนี้ ควรใช้ร่วมกันได้ดี น้ำมัน ที่ได้จากต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ทาเครื่องจักสาน ทำไต้ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ใช้ใส่แผล รักษาโรคเรื้อน และหนองใน