All| Plant| Mushroom| Squid| Shell| Crab| Shrimp| Fish| Bird| Insect| Amphibian| Reptile| Mammal| Group| Wood Property
Look Forest Group
กลุ่ม:ป่าสถานีวนเกษตรตราด LFG
 | Refresh |
Look Forest Group
Look Forest Group
[2022]
 
ยางนา
Dipterocarpus alatus
LFG
 
 
     
 
บันทึกข้อความ
ยังไม่มีบันทึก
LFG
 
     
 
ยางนา (Dipterocarpus alatus Roxb. )  [2022]
DIPTEROCARPACEAE
(English) : hairy-leafed apitong Yang , Gurjan or Garjan
 
  ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ (ทั่วไป) กาตีล (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบนนครราชสีมา) เคาะ (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมรศรีสะเกษ) จ้อง (กะเหรี่ยง) ชันนา (หลังสวนชุมพร) ทองหลัก (ละว้ากาญจนบุรี) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางใต้ (กบินทร์บุ LFG  
 
  
 
 
อัลบั้ม: ยางนา(Dipterocarpus alatus) LFG
 
 
ยังไม่ได้บันทึกข้อมูล
 
   
 
บทความ: ยางนา(Dipterocarpus alatus) LFG
 
 

ยางนาพญาไม้แห่งเอเซียอาคเนย์
 
   
[2022]
ยางนา ( Dipterocarpus alatus)
DIPTEROCARPACEAE
ยาง ยางขาว ยางแดง ยางหยวก ยางแม่น้ำ (ทั่วไป) กาตีล (เขมรกบินทร์บุรี ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบนนครราชสีมา) เคาะ (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมรศรีสะเกษ) จ้อง (กะเหรี่ยง) ชันนา (หลังสวนชุมพร) ทองหลัก (ละว้ากาญจนบุรี) ยางกุง (เลย) ยางควาย (หนองคาย) ยางใต้ (กบินทร์บุ
ท้องที่ที่ขึ้น
ขึ้นเป็นหมู่ๆ อยู่ในป่าดงดิบ และตามที่ต่ำที่ชุ่มชื้น กับบริเวณที่ใกล้เคียงกับแม่น้ำลำธารในป่าดิบ และป่าอื่นๆทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล ๒๐๐-๖๐๐ เมตร
ลักษณะทั่วไป
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูงถึง ๔๐ เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกเรียบ หนา สีเทาปนขาว โคนมักเป็นพู เรือนยอดเป็นพุ่มกลม หนา ใบรูปไข่แกมรูปหอก ขนาด ๘-๑๕ x ๒๐-๓๕ ซม. เนื้อหนา ปลายสอบเรียว โคนเรียบ กาบหุ้มยอดมีขนสีน้ำตาลยาวๆ ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามง่ามใบตอนปลายๆกิ่ง กลีบรองดอกและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ ผลกลม มีปีกยาว ๒ ปีก ปีกสั้นรูปหูหนู ๓ ปีก
ลักษณะเนื้อไม้
สีน้ำตาลปนแดง หรือสีแดงเรื่อๆ หรือสีน้ำตาลหม่น เสี้ยนมักตรง เนื้อหยาบ แข็งปานกลาง ใช้ในร่มทนทาน เลื่อย ไสกบ ตบแต่งได้ดี
ความถ่วงจำเพาะ
ประมาณ ๐.๗๐ (๑๓%)
สกายสมบัติ
กลสมบัติ
เนื้อไม้มี ความแข็ง ประมาณ ๔๗๑ กก. ความแข็งแรง ประมาณ ๘๘๘ กก. / ตร.ซม. ความดื้อ ประมาณ ๙๐,๒๐๐ กก. / ตร.ซม. ความเหนียว ประมาณ ๒.๑๔ กก.-ม.
เคมีสมบัติ
ความทนทานตามธรรมชาติ
ตั้งแต่ ๑-๑๐ ปี เฉลี่ยประมาณ ๔.๓ ปี
การอาบน้ำยาไม้
อาบน้ำยาได้ง่าย (ชั้นที่ ๒)
ประโยชน์
ไม้ ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน และการก่อสร้างทั่วๆไป ทำเรือขุด เรือขนาดย่อม ทำหีบ ถังใส่ปูนซีเมนต์ เครื่องเรือน ใช้ทำพื้น ฝา เพดาน รอด ตง แจว พาย กรรเชียง ตัวถังเกวียน เมื่ออาบน้ำยาโดยถูกต้องแล้ว จะมีความทนทานดีขึ้น สามารถใช้งานได้คงทนถาวร และใช้ทำเป็นไม้หมอนรองรางรถไฟได้ดี มีลักษณะคล้ายไม้กราด เหียง และพลวง ควรใช้ร่วมกันได้ น้ำมัน ที่ได้จากการเจาะต้นใช้ทาไม้ ยาแนวเรือ ทาเครื่องจักรสาน ทำไต้ และใช้เดินเครื่องยนต์แทนน้ำมันขี้โล้ ทำน้ำมันใส่แผล แก้โรคเรื้อน รับประทานแก้หนองใน